การแปลงเพศ

GenDHL

5

0

การแปลงเพศ

เกณฑ์การเข้ารับผ่าตัด

ผู้ป่วยต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปี ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 20 ปีจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
ผู้ป่วยจะต้องได้รับการอนุมัติจากจิตแพทย์ (แพทยศาสตรบัณฑิต) นักสังคมสงเคราะห์จิตเวช (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) หรือนักจิตวิทยาคลินิก (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) และต้องมีจดหมายรับรอง

 

หัตถการผ่าตัด

หัตถการนี้เป็นการผสมผสานระหว่างการสร้างช่องคลอดจากผิวหนังอวัยวะเพศชาย และการปลูกถ่ายผิวหนังแบบเต็มความหนา โดยจะมีการสร้างช่องคลอดและช่องเปิดใต้ท่อปัสสาวะ และต่อม ลูกหมาก ผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่มักกังวลเกี่ยวกับความลึกของช่องคลอดซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างความลึกนี้ คือปริมาณผิวหนังขององคชาติ เทคนิคของเราสามารถเพิ่มความลึกของ ช่องคลอดโดยใช้การปลูกถ่ายผิวหนัง แบบเต็มความหนาโดยใช้ผิวหนังบริเวณถุงอัณฑะ โดยจะต้องกำจัดขนบนถุงอัณฑะออกก่อน เพื่อให้สามารถปลูกถ่ายผิวหนังที่ส่วนปลายของแผ่นหนังหุ้ม องคชาติได้ ซึ่งเทคนิคนี้สามารถเพิ่มความลึกของช่องคลอดได้อีก อย่างน้อย 2 นิ้ว นอกจากนี้ส่วนหนึ่งของต่อมบริเวณส่วนหัวขององคชาติ ซึ่งมีเส้นประสาทและหลอดเลือดอยู่จะถูกเปลี่ยนเป็น คลิตอริส เพื่อให้คลิตอริสที่สร้างขึ้นใหม่นี้ มีรูปร่างและสามารถรับความรู้สึกได้เช่นเดียวกันกับคลิตอริสของผู้หญิง

 

ควรกำจัดเนื้อเยื่อที่สามารถแข็งตัวได้ส่วนเกินรอบท่อปัสสาวะออก เพื่อหลีกเลี่ยงการคั่งคัดของเนื้อเยื่อ ที่สามารถแข็งตัวได้ในระหว่างการตื่นตัวทางเพศ ซึ่งอาจส่งผลให้ช่องคลอดแคบลง
นอกจากนี้ อาจต้องทำการเคลื่อนย้ายลำไส้ใหญ่ในผู้ป่วยที่ต้องการให้ช่องคลอดมีความลึกมากขึ้น (มากกว่า 8 นิ้ว)

 

พักรักษาตัวในโรงพยาบาล

14 คืน

ระยะเวลาการผ่าตัด

6 - 8 ชั่วโมง

ยาชา / ยาสลบ

การให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว

การดูแลก่อนการผ่าตัด

 

ผู้ป่วยจะต้องตรวจสุขภาพให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือนก่อนทำการผ่าตัดแปลงเพศ (Sex reassignment surgery: SRS) โดยผู้ป่วยจะต้องได้รับการยืนยันจากแพทย์ประจำตัวว่าปลอดจากโรค ร้ายแรงและต้องผ่านการตรวจเลือดดังต่อไปนี้

 

• การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
• การตรวจเอชไอวี (HIV)
• การตรวจสารอิเล็กโทรไลต์ (Electrolytes)
• การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FBS)
• การวิเคราะห์ครีเอตินในปัสสาวะ (Creatinine Urinalysis)
• การตรวจสารแอลคาไลน์ฟอสฟาเทส (Alkaline Phosphatase)
• การเอ็กซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray)
• การตรวจการทำงานของตับ โดยการวัดเอนไซม์กลูตามิกอ็อกซาโลเอเซติกทรานซามิเนสในซีรั่ม (SGOT)
• การตรวจเอนไซม์แลคเตตดีไฮโดรจีเนส (LDH)
• การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)

 

นอกจากนี้ ผู้ป่วยต้องหยุดการรักษาด้วยฮอร์โมนก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 14 วัน และไม่ควรใช้ฮอร์โมนเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือด

ไม่ควรใช้ยาเม็ดชนิดรับประทาน 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด และไม่ควรใช้ยาฉีดเป็นเวลา 4 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด ไม่ควรใช้ยาต้านแอนโดรเจนชนิดรับประทาน 3 วันก่อน การผ่าตัด (4 สัปดาห์ สำหรับยาฉีด)

โปรดแจ้งให้ศัลยแพทย์ของคุณทราบถึงอาการแพ้ โรคประจำตัว และยาที่กำลังใช้ (ทั้งที่ต้องมีและไม่มีใบสั่งยา)

หลีกเลี่ยงยาที่มีส่วนผสมของแอสไพรินและบรูเฟนเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพื่อลดโอกาสในการมีเลือดออกหลังผ่าตัด

ไม่ควรสูบบุหรี่เป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เนื่องจากการสูบบุหรี่อาจส่งผลต่อ ปฏิกิริยาของคุณต่อยาชาและทำให้หายช้าลง ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงต้อง แจ้งศัลยแพทย์ก่อนการผ่าตัด

 

https://www.phuketpsi.com/th/procedures/gender-change/

ความคิดเห็น

กลับ

เลขที่ 88 ถนนติวานนท์ 3 (แยก 16) ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

02 968 8019

02 968 9885

คุยกับ Gen AI