เลือกธีมสี

8 ฮอร์โมนสำคัญของร่างกายที่ต้องทำความรู้จักและรับมือให้เป็น

ในร่างกายของคนเรา ประกอบด้วยสารเคมีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘ฮอร์โมน’ ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อสื่อสารและทำหน้าที่ร่วมกันกับอวัยวะต่างๆ เพื่อให้ร่างกายของคนเราสามารถทำงานได้อย่างปกติ เราจึงควรทำความรู้จัก..เพื่อให้รู้ทันหากเกิดความผิดปกติ กลุ่มฮอร์โมนแห่งความสุข1. เอ็นโดรฟิน (Endorphin)เป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากใต้สมองที่รู้จักกันในชื่อ ‘สารสุข’ เปรียบเสมือนมอร์ฟีนธรรมชาติที่ร่างกายหลั่งขึ้นมาก็ต่อเมื่อมนุษย์มีความสุข ความพึงพอใจ ผ่อนคลาย และหลั่งเพื่อกระตุ้นความรู้สึกในแง่บวกเมื่ออยู่ในภาวะเครียดฮอร์โมนชนิดนี้ก็จะลดลงวิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมนทำสิ่งที่ตัวเองชอบ หรือให้ความสนใจออกกำลังกาย ประมาณ 20 นาทีขึ้นไป เพื่อกระตุ้นการหลั่งของเอ็นโดรฟินทำสมาธิ เดินจงกรม ทำให้จิตใจสงบการมีเพศสัมพันธ์ที่ถึงจุดสุดยอด 2. โดพามีน (Dopamine)เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความพึงพอใจ รักใคร่ และยินดี เป็นสารที่หลั่งออกจากสมองกับเซลล์ประสาทในร่างกาย โดพามีนจะเกี่ยวเนื่องกับระบบประสาทหลายๆ ส่วน เช่น การทำงานของระบบประสาทสมอง การเคลื่อนไหว ความจำ และการเรียนรู้ ถ้าโดพามีนในร่างกายของเราต่ำเกินไปจะทำให้มีความรู้สึกหดหู่และซึมเศร้าได้ ซึ่งนับว่าเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง ยาที่รักษาโรคทางจิตเวชในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาเอาโดพามีนมาใช้ในการรักษา นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโดพามีนต่ำเกินไปทำให้เป็นโรคพาร์กินสันได้ เพราะฮอร์โมนที่ลดลงทำให้ระบบการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อไม่สัมพันธ์กัน ทำให้มีการสั่น และก้าวขาไม่ออกวิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมนออกกำลังกายรับประทานอาหารที่มีกรดอะมิโนและโปรตีนอย่างเพียงพอ เพราะโดพามีนสังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนที่ชื่อ Tyrosin ซึ่งจะได้จากอาหารประเภทโปรตีนที่เรารับประทานอยู่ทุกวัน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ฯลฯ 3. เซโรโทนิน (Serotonin)เป็นสารต้านความเครียดที่หลั่งจากสมองและหลั่งจากทางเดินอาหารที่มีผลกับการทำงานของกล้ามเนื้อ อารมณ์ และพฤติกรรม และการนอนหลับ ถ้าระดับฮอร์โมนต่ำเกินไปจะทำให้เราหงุดหงิด นอนไม่ค่อยหลับ ไม่มีสมาธิ มีภาวะปวดศีรษะ เป็นไมเกรน หรืออาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้วิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมนออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนกินอาหารที่มีโปรตีน เพราะเซโรโทนินสร้างมาจากทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนเอซิตตัวหนึ่งที่สามารถสังเคราะห์ฮอร์โมนได้ กลุ่มฮอร์โมนความเครียด1. คอร์ติซอล (Cortisol)เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมหมวกไตและถือเป็นสเตียรอยด์ชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เอง คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด เมื่อมีภาวะเครียด มีเหตุการณ์คับขัน มีเรื่องวิตกกังวล หรือมีความป่วยไข้ของร่างกาย ฮอร์โมนตัวนี้จะถูกกระตุ้นให้หลั่งมากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมต่อการฟื้นฟูร่างกาย คอร์ติซอลจะกระตุ้นการตอบสนองของเซลล์ในร่างกายต่อภาวะการอักเสบ ความเจ็บปวด ภาวะติดเชื้อ และกระตุ้นให้ตับสร้างน้ำตาลมากขึ้น เนื่องจากร่างกายต้องการพลังงานมากกว่าปกติในภาวะเครียด ทำให้กินเยอะขึ้น หิวบ่อยขึ้น และน้ำหนักขึ้นได้เร็วกว่าปกติ นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมระดับน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เพื่อรักษาระดับความดันให้ทำงานได้อย่างปกติด้วยวิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมนคือ พักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากคอร์ติซอลจะหลั่งสูงในช่วงเช้า และจะลดลงในช่วงบ่าย ถ้าเรานอนเป็นเวลาระดับการทำงานของคอร์ติซอลจะเพิ่มและลดตามปกติ แต่สำหรับคนที่นอนไม่พอหรือนอนไม่เป็นเวลาจะมีการหลั่งของฮอร์โมนที่ผิดปกติและผิดช่วงเวลาทำให้ร่างกายไม่สดชื่น  และนอนไม่หลับ2. อะดรีนาลีน (Adrenaline)อะดรีนาลีน(Adrenaline) หรือ อิพิเนฟริน (Epinephrine) เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมหมวกไต เป็นสารแห่งความโกรธ และเกี่ยวเนื่องกับการป้องกันตัว ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนนี้เพื่อให้มีภาวะเตรียมพร้อมให้ร่างกายเข้าสู่การตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินและการใช้พลังงาน ทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดหัวใจทำงานอย่างเต็มที่ หัวใจบีบตัวมากขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ความดันเลือดสูงขึ้น และทำในสิ่งที่เมื่อก่อนไม่สามารถทำได้ เช่น เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้จะรีบวิ่งเข้าไปยกของหนักในบ้านออกมาได้ โดยปกติแล้วอะดรีนาลินจะหลั่งช่วงที่เราตื่นเต้นหรือมีภาวะฉุกเฉินแล้วจะลดลงมาอยู่ในระดับปกติ แต่ถ้าหลั่งมากผิดปกติอาจเกิดจากเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต  ซึ่งทำให้มีอาการหัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง ควบคุมได้ยาก กลุ่มฮอร์โมนเพศ1. เทสโทสเตอโรน (Testosterone)ฮอร์โมนเพศชายที่หลั่งมาจากอัณฑะ ต้องใช้คอเลสเตอรอลในการสังเคราะห์ ฉะนั้นร่างกายจึงต้องมีไขมันเพื่อสังเคราะห์เป็นฮอร์โมนเพศได้ ฮอร์โมนเพศชายจะทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เด็กจนโตลักษณะเป็นผู้ชาย มีกล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น มีหนวด เครา ขน เสียงแตก และมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศ ถ้าหากฮอร์โมนทำงานปกติร่างกายก็จะไม่มีปัญหาและมีการพัฒนาไปตามวัย แต่ถ้าหากมีฮอร์โมนเพศชายต่ำ ในเด็กจะมีการพัฒนาเป็นเพศชายที่ไม่สมบูรณ์ แต่หากลดลงตามวัยเริ่มลดลงเมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป หากเกิดลดลงก่อนวัยอันควรจะมีผลกับกล้ามเนื้อ มวลของกระดูก มีความเสี่ยงที่กล้ามเนื้อจะลีบเล็กลง และกระดูกบางง่ายมีปัญหาเรื่องการแข็งตัวของอวัยเพศ และการมีเพศสัมพันธ์วิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมนออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอกินอาหารที่มีประโยชน์ และกินอาหารกลุ่มที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย เช่น Zinc หรือแร่สังกะสี เช่น หอยนางรม2. เอสโตรเจน (Estrogen)คือ ฮอร์โมนเพศหญิง ผลิตจากรังไข่ และทำให้ลักษณะร่างกายของผู้หญิงมีการเติบโต มีความเป็นผู้หญิงมากขึ้น เช่น มีเต้านม สะโพกผาย มีผิวดีขึ้น เกี่ยวเนื่องกับการมีประจำเดือน การผลิตไข่ การตกไข่ และช่วยในเรื่องการทำงานของกล้ามเนื้อและกระดูก ถ้าหากเอสโตรเจนลดลง โดยเฉพาะผู้หญิงที่หมดประจำเดือนในช่วงวัย 45-50 ปี มีความเสี่ยงที่กระดูกจะบางมากขึ้น เพราะมวลกระดูกลดลง กล้ามเนื้อไม่ค่อยแข็งแรง และมีภาวะของการหมดประจำเดือน เช่น ร้อนวูบวาบตามตัววิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมนกินอาหารที่มีเอสโตรเจนสูง เช่น น้ำมะพร้าว ถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง แต่ก็ไม่สามารถกินในปริมาณมากเพื่อทดแทนฮอร์โมนได้3. โปรเจสเตอโรน (Progesterone)เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะสูงขึ้นในช่วงที่จะตั้งครรภ์หรือมีรอบเดือน เตรียมพร้อมที่จะให้ไข่ที่ได้รับจากสเปิร์มแล้วมาฝังตัว โปรเจสเตอโรนสามารถหลั่งได้จากรังไข่และต่อมหมวกไต ฮอร์โมนตัวนี้จะกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว ในช่วงที่มีรอบเดือนเยื่อบุโพรงมดลูกจะหนาขึ้นเตรียมพร้อมกับการฝังตัวของตัวอ่อนในการตั้งครรภ์ ถ้าไม่มีการฝังตัวของตัวอ่อนระดับโปรเจสเตอโรนจะลดลง เยื่อบุโพรงมดลูกจะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน  ถ้ามีการตั้งครรภ์โปรเจสเตอโรนจะยังคงระดับสูง รักษาไม่ให้มดลูกบีบตัวและยังสูงตลอดการตั้งครรภ์ฮอร์โมนในร่างกายที่กล่าวมา คือสารธรรมชาติที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง สามารถกระตุ้นสร้างฮอร์โมนและรักษาสมดุลของฮอร์โมนได้ด้วยการปรับพฤติกรรม เช่น การพักผ่อนให้เพียงพอ และการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพราะฮอร์โมนส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และสังเคราะห์มาจากสารอาหารที่เรากินเข้าไป เราจึงควรกินให้ครบทั้ง 3 มื้อและไม่ควรอดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง หากทำเป็นประจำก็สามารถรักษาระดับสมดุลของฮอร์โมนไว้ได้และช่วยให้ห่างไกลจากโรค

Tag:การใช้ฮอร์โมนในเด็กและวัยรุ่น,

โพสต์โดย: GenDHL

15

0

การใช้ฮอร์โมน เพื่อการข้ามเพศ

 การปรับฮอร์โมน เพื่อการข้ามเพศ LGBTQ+ การปรับฮอร์โมน ในกลุ่มคนข้ามเพศ หรือ ทรานเจนเดอร์ (Transgender) เป็นการนำฮอร์โมน “เพศที่ต้องการ” เข้าสู่ร่างกายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือข้ามเพศไปยังเพศที่ต้องการในเบื้องต้น การใช้ฮอร์โมนหรือยาฮอร์โมน เพื่อปรับลักษณะ ทางกายภาพในกลุ่มคนข้ามเพศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่1. ฮอร์โมนสำหรับชายเป็นหญิง (Feminizing hormone therapy) สำหรับผู้ที่เพศกำเนิดเป็นเพศชายแต่ต้องการปรับสรีระร่างกายให้มีความเป็นเพศหญิง ซึ่งทำได้โดย- การเสริมฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน (Estrogen)- ยายับยั้งฮอร์โมนเพศชาย (Anti androgen agent)2. ฮอร์โมนสำหรับหญิงเป็นชาย (Masculinizing hormone therapy) สำหรับผู้ที่มีเพศกำเนิดเป็นเพศหญิงแต่ต้องการปรับสรีระร่างกายให้มีความเป็นเพศชาย สามารถทำได้โดย- การเสริมฮอร์โมนเพศชายหรือแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งฮอร์โมนหลัก ๆ คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน การใช้ฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของร่างกายแต่ละคน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้1. การกินในรูปแบบยาเม็ด2. รูปแบบยาฉีด โดยยาสามารถเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง3. การให้ยาทางผิวหนัง ด้วยวิธีการแปะ หรือทายาฮอร์โมนชนิดเจล เพื่อให้ยาซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือดและออกฤทธิ์ได้โดยตรง หากคุณกำลังเป็นคนหนึ่งที่กำลังวางแผนเพื่อการข้ามเพศแล้วไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ต้องเตรียมตัวดังนี้1. ด้านร่างกาย ดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ผลเลือดอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งในกรณีนี้สามารถเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์และรับการตรวจร่างกายก่อนการให้ฮอร์โมนได้2. ด้านจิตใจ จำเป็นต้องได้รับการสัมภาษณ์จากจิตแพทย์ และควรผ่านแบบทดสอบทางจิตวิทยา อย่างไรก็ตาม คลินิกสุขภาพเพศ Intimacy Care Clinic Paolo Kaset มีบริการให้คำปรึกษาโดยแพทย์เวชศาสตร์ทางเพศที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ3. ด้านสังคม สภาพสังคม และหน้าที่การงานของคุณเปิดโอกาสให้กับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ สถานที่ทำงานมีกฎเกณฑ์ในด้านเครื่องแบบตามคำนำหน้า (นางสาว , นาย) หรือไม่ อยากใช้ฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศ ต้องเริ่มอย่างไร1. ศึกษาหาข้อมูล เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง2. ติดต่อ คลินิก สุขภาพเพศ Intimacy Care Clinic Paolo Kaset เพื่อปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง3. เข้ารับการให้ฮอร์โมนตามที่แพทย์นัดหมาย ไม่ควรให้ฮอร์โมน/เทคฮอร์โมนด้วยตัวเอง เนื่องจากจะมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย4. ตรวจเลือดและตรวจสุขภาพตามที่แพทย์นัดหมายอย่างไรก็ตาม การให้ฮอร์โมนให้ปลอดภัย และเห็นผล ควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนโดยเฉพาะ เพื่อลดการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย ไม่ควรซื้อยาฮอร์โมนมารับประทานด้วยตนเอง 

Tag:การใช้ฮอร์โมนในเด็กและวัยรุ่น,

โพสต์โดย: GenDHL

19

0

เทคฮอร์โมนเพื่อข้ามเพศเอง อันตรายกว่าที่คิด

บุคคลข้ามเพศเป็นเพียงกลุ่มหนึ่งในบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ  คนข้ามเพศสามารถแสดงออกอัตลักษณ์ของตนเองผ่านกระบวนการข้ามเพศ เช่น การใช้ฮอร์โมนเพศเพื่อกดฮอร์โมนเพศเดิมในร่างกายและเปลี่ยนไปตามเพศที่ต้องการ โดยก่อนการเริ่มใช้ฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศ จำเป็นต้องพบจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัยภาวะ gender dysphoria ก่อนเพื่อป้องกันการได้รับฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศจากภาวะอื่นที่ไม่ได้เป็นคนข้ามเพศ การเริ่มฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศนั้นจำเป็นต้องได้รับพิจารณาจากอายุรแพทย์เฉพาะทางต่อมไร้ท่อหรือนรีแพทย์ เนื่องจากฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศมีผลข้างเคียงและมีข้อควรระวังในหลายด้าน เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ใช้ในหญิงข้ามเพศ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดดำอุดตัน มะเร็งเต้านม ไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์สูง การทำงานของตับผิดปกติได้ ส่วนฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน ทำให้ไขมันในเลือดสูง เลือดข้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ตับอักเสบได้ จึงเป็นความจำเป็นในบุคคลข้ามเพศที่ใช้ฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศที่ต้องได้รับการตรวจติดตาม เฝ้าระมัดระวังผลข้างเคียงอย่างสม่ำเสมอ

Tag:ฮอร์โมนเพื่อความเป็นหญิง, ฮอร์โมนเพื่อความเป็นชาย,

โพสต์โดย: GenDHL

8

0

เทคฮอร์โมนจากหญิงเป็นชาย ต้องเริ่มจากอะไรก่อน?

เทคฮอร์โมนจากหญิงเป็นชาย ต้องเริ่มจากอะไรก่อน? เมื่อพูดถึง “การเทคฮอร์โมน” ในกลุ่มคนข้ามเพศ หรือ ทรานเจนเดอร์ (Transgender) หลายคนอาจทราบแล้วว่า… คือการนำฮอร์โมน “เพศที่ต้องการ” เข้าสู่ร่างกายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือข้ามเพศไปยังเพศที่ต้องการในเบื้องต้น แต่ในวันนี้เราจะกล่าวถึงเฉพาะ การเปลี่ยนแปลงจากหญิงเป็นชาย ที่เรียกว่า ทรานสแมน (Transman) ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมาก หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังวางแผนเพื่อการข้ามเพศแล้วไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร นี้คือหนึ่งสิ่งที่คุณควรรู้ อยากเทคฮอร์โมน…ต้องเตรียมอะไรบ้าง?ร่างกาย : ดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ผลเลือดอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งกรณีนี้สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์และรับการตรวจร่างกายก่อนเทคฮอร์โมนได้จิตใจ : ผ่านการสัมภาษณ์จากจิตแพทย์ และควรผ่านบททดสอบทางจิตวิทยา อย่างไรก็ตาม ที่ศูนย์สุขภาพเพศ โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์ มีบริการให้คำปรึกษาโดยแพทย์สุขภาพเพศที่เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะสังคม : สภาพสังคม และหน้าที่การงานของคุณเปิดโอกาสให้กับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่? สถานที่ทำงานบังคับแต่งเครื่องแบบตามคำนำหน้า (นางสาว) หรือไม่ ? อยากเทคฮอร์โมน…ต้องเริ่มยังไง?ศึกษาหาข้อมูล เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปที่ศูนย์สุขภาพเพศ โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์ เพื่อปรึกษาแพทย์เฉพาะทางคิดถึงประเด็นการตัดหน้าอก เช่น อาจตัดหน้าอกก่อนเทคฮอร์โมน ทำให้มีความเป็นผู้ชายมากขึ้นเพราะไม่มีหน้าอก แต่เสียง โครงหน้า ขน หนวด หรือผิวพรรณจะยังเป็นผู้หญิงอยู่ และเมื่อเริ่มเทคฮอร์โมน เสียงก็จะเริ่มแตก โครงหน้า หนวดเครา ขนก็จะมา ทำให้มีลักษณะเหมือนผู้ชายอย่างเห็นได้ชัด แต่ทั้งนี้ก็สามารถเทคฮอร์โมนก่อนตัดออกได้เช่นกัน หรือบางท่านอาจจะไม่ตัดออกเลยก็ได้ ขึ้นกับความพึงพอใจของ Transmen แต่ละท่านเข้ารับฮอร์โมนตามที่แพทย์นัดหมาย ไม่ควรเทคฮอร์โมนด้วยตัวเองเนื่องจากจะมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยตรวจเลือดและตรวจสุขภาพตามที่แพทย์นัดหมาย 

Tag:การใช้ฮอร์โมนในเด็กและวัยรุ่น, ฮอร์โมนเพื่อความเป็นหญิง, ฮอร์โมนเพื่อความเป็นชาย,

โพสต์โดย: GenDHL

11

0

คลายทุกปัญหาและข้อสงสัยที่พบบ่อยกับการเทคฮอร์โมน

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการใช้ฮอร์โมนหรือเทคฮอร์โมนQ1: ฮอร์โมนเพศแบ่งได้เป็นกี่กลุ่มอะไรบ้างA: แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ  ฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)ฮอร์โมนเพศชาย ได้แก่ ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) หรือเทสโทสเทอโรน (Testosterone) Q2: ปัญหาหรือความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการการใช้ฮอร์โมนในปัจจุบันมีเรื่องอะไรบ้างA: เรื่องการใช้ฮอร์โมน ยังมีหลายเรื่องที่ผู้ใช้ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนการวินิจฉัยโรค ส่วนใหญ่การวินิจฉัยตนเองแต่ไม่มีข้อมูลการใช้ยาฮอร์โมนเพศหญิง ส่วนใหญ่เป็นการรักษาด้วยตนเอง ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นพี่และเพื่อนปัญหาการใช้ยาเกินขนาดแหล่งที่มาของยา ทั้งยากินและยาฉีดส่วนใหญ่ซื้อจากร้านขายยายาฉีด บางรายฉีดกันเองมีการรับการตรวจสุขภาพน้อย Q3: รู้ไหม ซื้อฮอร์โมนกินเอง เสี่ยงอันตรายไม่รู้ตัว!A: การซื้อฮอร์โมนกินเองตามโฆษณาชวนเชื่อ หรือการบอกต่อในสังคมโซเชียล อาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ หากไม่ได้ตรวจร่างกายก่อน หรือใช้ปริมาณสูงเกินกว่าที่จำเป็น เมื่อใช้ไปเรื่อยๆ อาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ หรือบางคนอาจมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เพราะฉะนั้นการมาพบแพทย์เพื่อได้รับฮอร์โมนที่ถูกต้อง ในระยะยาวหากจำเป็นต้องรับฮอร์โมนเพศชายต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ยิ่งมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจติดตามสุขภาพ ตรวจติดตามการทำงานของอวัยวะสำคัญต่างๆ จากแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัยและลดผลข้างเคียงจากการใช้ฮอร์โมนให้น้อยที่สุด Q4: ภัยจากการใช้ยาฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศA: การใช้ยาฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศเป็นวิธีการรักษาที่คนข้ามเพศนิยมเพื่อเปลี่ยนสรีระให้มีลักษณะแบบเพศที่ตนต้องการ คนจำนวนมากใช้โดยไม่ปรึกษาแพทย์เนื่องจากไม่ตระหนักถึงอันตรายที่ตามมาโดยเฉพาะภัยจากยาคุมกำเนิด กล่าวคือ การใช้ยาฮอร์โมนในปริมาณมากเพื่อเร่งผล หรือใช้ผิดประเภทหรือผิดขนาดอาจส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด สาเหตุของการเสียชีวิตซึ่งพบมากในกลุ่มคนข้ามเพศ“ร่างกายของคนข้ามเพศแต่ละคนไม่เหมือนกัน ยาที่เหมาะสมกับแต่ละคนจึงต่างกัน บางคนเหมาะที่จะรับยากิน บางคนได้ยาทา หรืออาจได้ยาแบบเดียวกันแต่ต่างโดส ซึ่งแพทย์จะแนะนำได้ดีที่สุด”สำคัญที่สุด คือ การใช้ยาฮอร์โมนไม่ใช่วิธีที่จะใช้ได้กับทุกคน บางรายไม่อาจใช้ยาฮอร์โมนได้เลย เช่น คนไข้ที่มีโรคมะเร็งเต้านม กล้ามเนื้อหัวใจตาย หลอดเลือดหัวใจตีบ คนไข้ที่มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ มีความเข้มข้นของเลือดมากเกินไป คนไข้ที่มีค่าตับหรือค่าไขมันผิดปกติ เป็นต้นQ5: การใช้ฮอร์โมนที่ถูกต้อง ต้องคำนึงถึงอะไรบ้างA:  ข้อควรรู้เมื่อต้องใช้ฮอร์โมนเลือกใช้ฮอร์โมนที่มีผลข้างเคียงตํ่า (ตาม guideline) และปรับขนาดฮอร์โมน ให้ถูกต้องกับสภาพร่างกายหาความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาฮอร์โมนที่ถูกต้อง รวมทั้งอันตรายของการใช้ยาเกินขนาดตรวจระดับฮอร์โมน และตรวจติดตามผลข้างเคียงระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ฮอร์โมน Q6: สิ่งที่ควรทำ สำหรับผู้ที่ได้รับฮอร์โมนเพศจากเพศชายเป็นหญิง มีอะไรบ้างA:  ประเมินทุก 3-6 เดือน ในปีแรก และ 1-2 ครั้งในปีต่อไป เพื่อดูอาการแสดงของเพศหญิงและ ภาวะแทรกซ้อนตรวจวัดระดับฮอร์โมน testosterone และ estradiol ทุก 3-6 เดือนในผู้ที่ใช้ยา spironolactone ควรตรวจ serum electrolytes โดยเฉพาะ serum potassium ตรวจทุก 3 เดือนในปีแรก ทุก 6 เดือนในปีต่อไปควรตรวจคัดกรองมะเร็ง เช่นมะเร็งเต้านม มะเร็งลําไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมากการตรวจ Bone mineral density (UCSF excellent center, 2016)ตรวจเมื่ออายุ 65 ปีในกลุ่มที่มีไม่มีความเสี่ยงต่อกระดูกพรุนตรวจเมื่ออายุ 50-64 ปีในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อกระดูกพรุน เช่น มีประวัติครอบครัวมีการใช้ ยากลุ่มสเตียรอยด์ตรวจโดยไม่คํานึงถึงอายุในกลุ่มที่ตัดรังไข่ ตัดอัณฑะแล้ว และหยุดใช้ฮอร์โมนนานกว่า 5 ปี Q7: จุดมุ่งหมายของการใช้ฮอร์โมนบำบัดสำหรับกลุ่มคนข้ามเพศคืออะไรA:  จุดมุ่งหมายของการใช้ฮอร์โมนบำบัด คือ ทำให้คุณเป็นตัวของคุณมากขึ้นทั้งด้านร่างกายและจิตใจ คุณอาจเคยสัมผัสความรู้สึกอึดอัดใจเนื่องจากคุณไม่มีความสุขกับภาพลักษณ์ภายนอกของคุณที่เป็นชายหรือหญิง หรือบางครั้งคุณไม่พอใจกับบทบาทที่ต้องแสดงออกเป็นผู้ชายหรือเป็นผู้หญิง หรือบางครั้งปัจจัยทั้งสองอย่างนั้นช่างขัดกับความรู้สึกที่แท้จริงภายในว่าคุณเป็นใคร ซึ่งคุณอาจจำเป็นต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความรู้สึกสับสนนี้และรู้สึกท้อแท้ที่จะขอความช่วยเหลือจากคนอื่นมาตลอดหลายปีถ้าคุณมีความรู้สึกดังกล่าว การใช้ฮอร์โมนบำบัดจะช่วยคุณได้ การรักษาแนวทางนี้บางครั้งถูกเรียกว่า ‘cross-sex’ hormone therapy Q8: จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนไปตลอดหรือไม่A: คำตอบ คือ คุณจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนทดแทนไปตลอดชีวิต หากคุณยังต้องการผลของฮอร์โมนเอสโตรเจนในด้านการแสดงออกเป็นหญิง หรือฮอร์โมนแอนโดรเจนในด้านการแสดงออกเป็นชายยังคงอยู่หากเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณตัดสินใจจะผ่าตัดเอารังไข่หรืออัณฑะของคุณออกปริมาณฮอร์โมนที่คุณกินจะถูกลดขนาดลงให้เหลือแค่เพียงพอที่จะให้ผลด้านการแสดงออกทางเพศต่อคุณ และเพียงพอจะป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนเมื่อคุณอายุมากขึ้นถ้าคุณยังใช้ยาต้านฮอร์โมนร่วมด้วย (hormone blocker) คุณจำเป็นต้องหยุดใช้ยาเหล่านี้เช่นกัน Q9: ทำไมถึงจำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจติดตามอาการA: แพทย์จะตรวจติดตามสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่ายาฮอร์โมนได้เข้าสู่ร่างกายของคุณจริง และสามารถตรวจพบความผิดปกติหรือปัญหาสุขภาพได้ทันท่วงที ซึ่งแพทย์อาจมีการปรับยา และ/หรือ สั่งยาเพิ่ม ตามความเหมาะสมของแต่ละคนดังนั้นประวัติการเป็นโรคต่างๆ อาทิ มะเร็งเต้านม โรคหลอดเลือด หรือโรคตับ ของคุณรวมทั้งคนในครอบครัว  จึงมีความจำเป็นที่แพทย์จะต้องรับทราบ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าถ้าคุณมีโรคดังกล่าวแล้วจะถูกห้ามใช้ฮอร์โมน แต่ข้อมูลเหล่านั้นจะช่วยให้แพทย์ได้แนะนำถึงแนวทางการดูแลรักษาที่เหมาะสมแทน รวมถึงติดตามอาการของคุณได้ดียิ่งขึ้น Q10: การใช้ฮอร์โมนบำบัดจะส่งผลอย่างไรกับการมีเพศสัมพันธ์บ้างA: ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (testosterone) ในกลุ่มฮอร์โมนแอนโดรเจน มีส่วนเพิ่มความต้องการทางเพศ ดังนั้น ในกลุ่มชายข้ามเพศอาจมีความต้องการมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งขึ้น สำหรับหญิงข้ามเพศที่ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนอาจมีปัญหาเรื่องการแข็งตัวขององคชาตทำให้การมีเพศสัมพันธ์ลำบากมากขึ้น หญิงข้ามเพศหลายคนกล่าวว่า ในช่วงระหว่างเปลี่ยนแปลงนี้ เธอไม่ได้รู้สึกสนใจการมีเพศสัมพันธ์ใดๆ หากคุณและคู่ของคุณมีปัญหาเรื่องนี้ คุณอาจต้องลองพูดคุยกันหรือเข้ารับการปรึกษา Q11: จำเป็นต้องหยุดยาฮอร์โมนก่อนจากผ่าตัดหรือไม่A: การผ่าตัดล้วนมีความเสี่ยง ดังนั้น หากคุณวางแผนจะเข้ารับการผ่าตัด คุณควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ก่อนเพื่อพูดคุยถึงข้อดีและข้อเสียของการหยุดฮอร์โมนก่อนการผ่าตัดล่วงหน้าหลายสัปดาห์เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดภายในเส้นเลือด หญิงข้ามเพศควรหยุดกินยาฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์ ก่อนการผ่าตัด แต่เนี่องจากไม่มีช่วงเวลาหยุดยาที่ตายตัวแน่ชัด ทั้งศัลยแพทย์และวิสัญญีแพทย์อาจมีความเห็นเกี่ยวกับระยะเวลาที่ต่างกันออกไปได้ ทีมแพทย์จะพิจารณาสุขภาพของคุณอย่างละเอียดแม้ว่าคุณจะสูบหรือไม่สูบบุหรี่ รวมถึงเป็นหรือไม่เป็นโรคอ้วนก็ตามคุณสามารถเริ่มการใช้ฮอร์โมนได้อีกครั้งหลังจากการผ่าตัดประมาณ 2-3 สัปดาห์ เมื่อคุณแข็งแรงเพียงพอลุกจากเตียงได้และแพทย์ไม่ได้สั่งห้าม ในช่วงระหว่างที่หยุดการใช้ยาฮอร์โมนเอสโตรเจนก่อนการผ่าตัด คุณอาจต้องการยาต้านฤทธิ์ฮอนโมนเทสโทสเทอโรน เพื่อหยุดไม่ให้ขนบริเวณใบหน้ากลับมาขึ้นใหม่ทั้งชายและหญิงข้ามเพศจำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดก่อนผ่าตัดเพื่อเช็คสุขภาพและดูความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดหรือภาวะเลือดไหลQ12: ยังสามารถมีลูกได้อีกหรือไม่ เมื่อใช้ฮอร์โมนA: การใช้ฮอร์โมนจะทำให้คุณเกิดภาวะเป็นหมันหลังจากใช้ยาไปช่วงระยะหนึ่ง เนื่องจากผลลัพธ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใด การใช้ฮอร์โมนจึงไม่ใช่วิธีสำหรับการคุมกำเนิด ควรใช้ถุงยางอนามัยแทนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ถ้าคุณเป็นหญิงข้ามเพศ การหยุดยาฮอร์โมนอาจช่วยให้การสร้างสเปิร์มกลับมาได้บ้าง ปัจจุบันยังไม่มีช่วงเวลาแน่นอนของการเป็นหมันหลังเริ่มการใช้ยาฮอร์โมน อีกทั้งยังแตกต่างกันในแต่ละคน คุณจะกลายเป็นหมันถาวรหลังจากผ่าตัดนำอัณฑะออกแล้วถ้าคุณเป็นชายข้ามเพศ การใช้ยาฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนจำเป็นต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรกว่าที่คุณจะกลายเป็นหมันถาวร แต่ก็เช่นเดียวกันว่าไม่มีช่วงเวลาที่แน่ชัด เมื่อคุณผ่าตัดเอารังไข่ออก คุณจะไม่สามารถตั้งครรภ์โดยวิธีธรรมชาติได้ แต่เมื่อคุณผ่าตัดเอามดลูกออกคุณจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกดังนั้น อย่าลืมที่จะปรึกษาแพทย์เรื่องผลกระทบของการใช้ฮอร์โมนกับโอกาสที่จะมีบุตรในอนาคต รวมถึงควรได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเก็บสเปิร์มหรือไข่เอาไว้ด้วย Q13: ความเสี่ยงของการใช้ฮอร์โมนโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์มีอะไรบ้างA: อันตรายที่เกิดจากการซื้อยามากินเองมีดังต่อไปนี้ผลิตภัณฑ์อาจไม่ใช่ของแท้และอาจไม่ก่อให้เกิดผลอะไรกับร่างกายเลย ทำให้คุณต้องเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ผลิตภัณฑ์อาจไม่มีคุณภาพและก่อให้เกิดอันตรายได้คุณอาจไม่ได้รับทราบถึงความเสี่ยงที่จะเกิดและผลข้างเคียงจากการใช้ยาคุณอาจไม่ทราบถึงผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อคุณกินยาฮอร์โมนร่วมกับยาชนิดอื่นหรือร่วมกับยาสมุนไพรต่างๆคุณจะไม่ได้รับการตรวจที่ถูกต้องจากแพทย์ถึงผลที่อาจเกิดจากยาฮอร์โมนขนาดยาที่กินหรือวิธีใช้ยาฮอร์โมนบางชนิด อาทิ ยากิน แผ่นแปะผิวหนัง อาจไม่ได้เหมาะสมกับคุณ Q14: ยาฮอร์โมนจากชายเป็นหญิงจะส่งผลอะไรกับร่างกายบ้างA: ในหญิงข้ามเพศ ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะส่งผลให้ไขมันสะสมเพิ่มขึ้นบริเวณสะโพกขนาดของอัณฑะและองคชาตจะลดขนาดลงเล็กน้อยการแข็งตัวขององคชาตจะทำได้ลำบากขึ้นรู้สึกกดเจ็บและมีลักษณะเป็นก้อนมากขึ้นที่บริเวณเต้านมขนบริเวณร่างกายและใบหน้าจะลดลง ช่วยให้การกำจัดขนของหญิงข้ามเพศทำได้สะดวกขึ้นลักษณะศีรษะล้านแบบเพศชายอาจลดลงหรือหยุดลงได้ Q15: ยาฮอร์โมนจากหญิงเป็นชายจะส่งผลอะไรกับร่างกายบ้างA: ในชายข้ามเพศ ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนจะส่งผลให้ มีขนและเคราเพิ่มขึ้นที่ใบหน้าและร่างกาย ลักษณะศีรษะล้านแบบเพศชายอาจเกิดขึ้นได้ ปุ่มกระสันของอวัยวะเพศหญิง (Clitolis) จะเพิ่มขนาดขึ้นได้เล็กน้อย ความต้องการทางเพศอาจเพิ่มขึ้นได้ เสียงเปลี่ยน แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ถึงระดับของเสียงผู้ชายทั่วไป ประจำเดือนจะหยุดลง แต่อาจยังมีเลือดไหลกะปริดกะปรอยได้ซึ่งต้องอาศัยการปรับขนาดยา สิวอย่างเกิดขึ้นได้ Q16: ความเสี่ยงของการใช้ฮอร์โมนมีอะไรบ้างA: การใช้ฮอร์โมนนั้นจะปลอดภัยหากใช้ในขนาดที่เหมาะสม เนื่องจากยาฮอร์โมนนั้นถูกสังเคราะห์ให้มีความคล้ายคลึงกับฮอร์โมนในร่างกาย แต่อย่างไรก็ตาม ยาทุกชนิดนั้นล้วนมีผลข้างเคียง และบางรายอาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ ผู้ใช้จึงควรศึกษาผลข้างเคียงของยาให้ดีก่อนตัดสินใจใช้ยาผลข้างเคียงที่รุนแรงจากยาฮอร์โมนเอสโตรเจน มีดังนี้การเกิดลิ่มเลือดโรคหลอดเลือดดำอุดตัน (Deep vein thrombosis)โรคหลอดเลือดในสมอง (Stroke) โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary embolism) กระทบการทำงานของตับผลข้างเคียงที่รุนแรงจากยาฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน คือโรคเลือดข้น (Polycythemia) Q17: อยากเทคฮอร์โมนให้เห็นผล...ต้องเทคนานแค่ไหนA: การเทคฮอร์โมน ไม่ใช่เทคเพียง 1-2 ครั้ง แล้วจะเห็นผล แต่การเทคฮอร์โมนจะต้องเทคอย่างสม่ำเสมอ หลัง 3-6 เดือนขึ้นไปถึงจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง เช่น เสียง โครงหน้า เป็นต้น Q18: ข้อควรระวังในการเทคฮอร์โมน มีอะไรบ้างA: การเทคฮอร์โมน ต้องคำนึงถึงปัญหาทางสุขภาพต่างๆ เช่น ป่วยบ่อย มวลกระดูกบางลง ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ หรือเป็นโรคซึมเศร้าได้ต้องคอยรักษาระดับฮอร์โมนให้คงที่ ถ้าน้อยเกินไป...ก็จะไม่เห็นผลตามต้องการ Q19: เทคฮอร์โมน...นานแค่ไหนถึงเรียกว่าเหมาะสมA: เมื่อเพศทางร่างกาย และเพศทางจิตใจ ไม่ตรงกัน เราจึงต้องพยายามที่จะให้จิตใจของเราได้รับการตอบสนอง การเทคฮอร์โมน ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือก และตัวสำคัญที่จะทำให้เราข้ามเพศไปยังเพศที่ต้องการได้ Q20: เมื่อเทคฮอร์โมนแล้ว จะมีลักษณะอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง  A: ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปหลังเทคฮอร์โมนจากชายไปหญิงเสียงเล็ก แหลมมีหน้าอก สะโพกผ่ายผิวเนียนขนบริเวณต่างๆ ลดลง​น้องชาย มีขนาดเล็กลง และแข็งยากขึ้น (สำหรับผู้ที่ยังไม่ผ่าตัด)ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงหลังเทคฮอร์โมนจากหญิงไปชายเสียงใหญ่ ทุ้มโครงหน้าเปลี่ยนมีสิวกลิ่นตัวแรงผิวมัน และหยาบขึ้นมีนวด เครา ขนขึ้นตามที่ต่างๆ​เริ่มเห็นกล้ามเนื้อที่ชัดเจน (ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ) Q21: ผลข้างเคียงที่พบบ่อยในการเทคฮอร์โมน มีอะไรบ้างA: ผลที่อาจเกิดขึ้นได้ในคนที่เทคฮอร์โมนเลือดข้น หรือหนืดลิ่มเลือดไขมันในเลือดสูงกระดูกบาง หรือพรุน​มีผลกับหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไต ตับ หลอดเลือดในสมอง เป็นต้นQ22: ทำไมผู้ที่เทคฮอร์โมน ถึงไม่สามารถบริจาคเลือดได้A:  “เทคฮอร์โมนแล้วไม่สามารถบริจาคเลือดได้” กำลังเป็นประเด็นร้อนบนโลกโซเชียลในขณะนี้ที่ทำให้เกิดความเห็นต่างออกมามากมาย และหลายคนก็รู้สึกว่า การเทคฮอร์โมนของผู้ที่เป็นเพศทางเลือกเป็นเรื่องที่ทำได้ แต่ทำไมต้องถูกกีดกันไม่ให้ไปบริจาคเลือด ทั้งๆ เลือดกำลังขาดแคลนอย่างมากในช่วงวิกฤตการระบาด COVID-19 วันนี้เราจะมาบอกเหตุผลให้คลายสงสัยกันว่า ทำไมผู้ที่เทคฮอร์โมน ถึงไม่สามารถบริจาคเลือดได้นี่คือเหตุผลว่า… ทำไมเทคฮอร์โมนแล้ว ถึงบริจาคเลือดไม่ได้เนื่องจากการได้รับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในปริมาณสูงๆ อาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์และทารกแรกคลอดได้ ซึ่งในทรานส์แมน (คนข้ามเพศ) จำเป็นต้องได้รับปริมาณเทสโทสเตอโรนสูงเพื่อการข้ามเพศ และตัวยาเทคฮอร์โมนที่ใช้สำหรับข้ามเพศก็มีส่วนผสมของสเตียรอยด์อยู่ด้วยสำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคเลือดจะต้องงดการเทคฮอร์โมนมาก่อนอย่างน้อย 1 สัปดาห์ แต่สำหรับคนที่ต้องการข้ามเพศจำเป็นต้องเทคฮอร์โมนอย่างต่อเนื่องห้ามขาดช่วง เพราะหากหยุดยาหรือขาดการเทคฮอร์โมนอาจจะทำให้การข้ามเพศหยุดชะงักหรือไม่สำเร็จได้ ดังนั้นหากไม่หยุดยาหรือหยุดเทคฮอรโมนเสียก่อน เลือดที่บริจาคไปก็จะส่งผลเสียต่อผู้ที่ได้รับเลือดนั้นได้โดยมาตรฐานแล้ว การจัดหาเลือดต้องคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งของผู้บริจาคและผู้ป่วยที่ต้องรับเลือดเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการคัดเลือกผู้ที่มีสุขภาพดี และเป็นผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาเป็นประจำด้วยยาชนิดใดชนิดหนึ่ง การเทคฮอร์โมนจึงกลายเป็นข้อห้ามอันหนึ่งเช่นกันแม้ว่าทุกคนควรมีสิทธิ์ในการบริจาคเลือด แต่หากยังไม่พร้อมในด้านสุขภาพก็ไม่สามารถบริจาคเลือดได้ การเป็นแรงใจในการ “Activist” เพื่อหาหนทางที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่ายที่มีความเห็นต่างจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการแสดงออกแต่อย่างไรก็ตามในขณะนี้ เราควรทำตามระเบียบของสภากาชาดไทย และถึงแม้ว่าเราจะยังไม่สามารถช่วยเหลือด้วยการบริจาคเลือดเองได้ แต่เราสามารถแชร์ข่าวสารการรับบริจาคเลือดให้เกิดการรับรู้มากขึ้นได้ ดังนั้น อย่าลืมบอกต่อและรณรงค์ให้ผู้ที่มีความพร้อมไปบริจาคเลือดกันนะ Q23: อายุเท่าใดจึงเข้ารับบริการแปลงเพศได้A: ไม่มีการระบุชัดว่าอายุที่เหมาะสมสำหรับการเปลี่ยนแปลงนั้นคือกี่ปี ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้รับบริการเป็นสำคัญ เนื่องจากบางคนต้องการข้ามเพศในวัยรุ่น อีกคนกลับต้องการหลังอายุ 40 ปีแล้ว เพียงผู้รับบริการที่มีอายุ 18-20 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองก่อนเสมอ ตามข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมเรื่องเกณฑ์การรักษาเพื่อแปลงเพศ พ.ศ.2552 ซึ่งคลินิกสุขภาพเพศจะดูแลเฉพาะผู้มารับบริการวัยผู้ใหญ่เป็นหลักวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปี จะได้รับการรักษาโดยพิจารณาเป็นรายๆ ไป ซึ่งคลินิกฯ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อและจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นจากคลินิกบูรณาการสุขภาพวัยรุ่นให้บริการโดยเฉพาะ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ผู้รับบริการมีคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม Q24: เราต้องตรวจสุขภาพอะไรบ้าง และผ่านเกณฑ์อะไรบ้างก่อนรับฮอร์โมนเพศชายA: การรับฮอร์โมนเพศชาย จะต้องผ่านเกณฑ์ดังนี้อายุมากกว่า 20 ปี และต้องผ่านการพบจิตแพทย์ 2 ท่านเป็นอันดับแรก เพื่อประเมินว่า ผู้รับบริการต้องการจะเป็นผู้ชายข้ามเพศแน่ๆ เพราะบางครั้งผู้รับบริการยังไม่มั่นใจในตัวเองว่า ต้องการจะเปลี่ยนแปลงร่างกายหรือไม่ หรือแค่ชอบผู้หญิงเฉยๆ หรือเป็นไปตามแฟชั่นหากอายุ 18 ปีแต่ไม่ถึง 20 ปี ต้องมีผู้ปกครองเซ็นยินยอม และต้องผ่านการพบจิตแพทย์ 2 ท่านเช่นกันก่อนรับฮอร์โมนเพศชายต้องผ่านการตรวจสุขภาพและความพร้อมของร่างกายก่อนก่อนการรับฮอร์โมนเพศชาย ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพ ตามด้านล่างเบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติภาวะเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ โรคหัวใจ, โรคอ้วน, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, สูบบุหรี่, ประวัติโรคมะเร็งเต้านมในครอบครัว, ประวัติการใช้ยาลดความดัน, ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด, ยาสลายลิ่มเลือด เป็นต้นการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (เจาะเลือด) เพื่อดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด, ระดับน้ำตาลในเลือด, การทำงานของไต, ระดับไขมันในเลือด, การทำงานของตับ และระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในร่างกายนอกจากนั้น ผู้รับบริการจะได้รับการตรวจร่างกายทุกระบบ วัดความดันโลหิต, ชั่งน้ำหนัก, วัดส่วนสูงสำหรับผู้ที่มีประวัติประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ ขาดหายเรื้อรัง แพทย์จะตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อดูภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovarian Syndrome) Q25: รับฮอร์โมนเพศชายแล้วมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างA:  เมื่อได้รับฮอร์โมนเพศชายแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลง 2 แบบดังนี้การเปลี่ยนแปลงแบบถาวร ได้แก่ เสียงทุ้มใหญ่ขึ้น, คลิตอริสมีขนาดใหญ่ขึ้น , ไขมันตามร่างกายบางส่วนลดลง เช่น สะโพกการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ถาวร เมื่อหยุดฮอร์โมนก็จะกลับมาเป็นปกติ ได้แก่ ประจำเดือนขาด, มวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นและแข็งแรงขึ้น, มีขนดกขึ้นบริเวณใบหน้า ลำตัว และแขนขา, เต้านมขนาดเล็กลง, อาจมีอารมณ์ทางเพศสูงขึ้น, บางคนอาจมีผมร่วงและศีรษะล้านแบบเพศชาย, น้ำหนักเพิ่มขึ้น

Tag:การผ่าตัดเปลี่ยนเพศจากชายเป็นหญิง, ฮอร์โมนเพื่อความเป็นชาย, การใช้ฮอร์โมนในเด็กและวัยรุ่น,

โพสต์โดย: GenDHL

28

0

ฮอร์โมนสำหรับหญิงข้ามเพศ

คำว่า หญิงข้ามเพศ ( Transgender women) เป็นที่คุ้นหูของคนไทยโดยทั่วไป นอกเหนือจากคำเรียกแบบเดิม เช่น สาวประเภทสอง สาวสอง กะเทย ทั้งนี้คำว่าหญิงข้ามเพศ ในความหมายทางสังคมวิทยาเป็นคำเรียกผู้ที่มีเพศกำเนิดเป็นผู้ชายแต่ต้องการเปลี่ยนเพศสภาพของตนให้เป็นเพศตรงข้าม ซึ่งก็คือเพศหญิง (MTF หรือ Male to female transformation) โดยที่บุคคลนั้นจะยังไม่แปลง หรือแปลงเพศไปแล้วก็ได้ คนที่ยังไม่แปลงเพศก็ยังถืออัตลักษณ์และเพศสภาพของตนให้ดูเหมือนผู้หญิงโดยถือว่ายังอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศ คำว่า หญิงข้ามเพศ ( Transgender women) เป็นที่คุ้นหูของคนไทยโดยทั่วไป นอกเหนือจากคำเรียกแบบเดิม เช่น สาวประเภทสอง สาวสอง กะเทย ทั้งนี้คำว่าหญิงข้ามเพศ ในความหมายทางสังคมวิทยาเป็นคำเรียกผู้ที่มีเพศกำเนิดเป็นผู้ชายแต่ต้องการเปลี่ยนเพศสภาพของตนให้เป็นเพศตรงข้าม ซึ่งก็คือเพศหญิง (MTF หรือ Male to female transformation) โดยที่บุคคลนั้นจะยังไม่แปลง หรือแปลงเพศไปแล้วก็ได้ คนที่ยังไม่แปลงเพศก็ยังถืออัตลักษณ์และเพศสภาพของตนให้ดูเหมือนผู้หญิงโดยถือว่ายังอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศการเปลี่ยนจากชายเป็นหญิงของกลุ่มสาวประเภทสองหรือหญิงข้ามเพศมักอาศัย ฮอร์โมน เป็นตัวช่วย ซึ่งมีความจำเป็นมากที่จะเปลี่ยนลักษณะทางกายภาพให้เข้าใกล้ความเป็นหญิงมากที่สุด ฮอร์โมน ในที่นี้คือ ฮอร์โมนเพศหญิง ปกติในร่างกายคนเรา ไม่ว่าทั้งหญิงและชาย มีทั้งฮอร์โมนเพศหญิง และฮอร์โมนเพศชายในคนคนเดียวหลักการของ MTF ที่จะทำให้สาวประเภทสองหรือหญิงข้ามเพศมีความเป็นหญิงมากขึ้นก็คือ เสริมฮอร์โมนเพศหญิง และลดฮอร์โมนเพศชายลง ซึ่งต้องมีแพทย์เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ และตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนเพศโดยความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากแต่ในอดีตถึงปัจจุบันหญิงข้ามเพศหลายคนยังใช้ฮอร์โมนอย่างไม่ถูกวิธี ได้รับความรู้จากการถ่ายทอดจากหญิงข้ามเพศรุ่นพี่ รุ่นน้อง เพื่อนฝูง ที่เป็นแบบพูดปากต่อปาก ซึ่งไม่ได้มีงานวิจัยหรือองค์ความรู้ที่เป็นหลักการทางคลินิกมารองรับ ทำให้เกิดผลข้างเคียงและผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและชีวิตประจำวันหลักการใช้ฮอร์โมนในการข้ามเพศการเปลี่ยนสภาพร่างกายให้เข้าสู่ความเป็นผู้หญิง จำเป็นต้องอาศัย ฮอร์โมนเพศ ที่ร่างกายรับจากภายนอก จากรูปแบบยาเตรียมที่หลากหลายได้แก่ ยาเม็ด ยาทา แผ่นแปะผิวหนัง สเปรย์ และยาฉีด บางตำรับไม่แนะนำให้ใช้เนื่องจากผลข้างเคียงของส่วนประกอบหลักทำให้เกิดภาวะผิดปกติของร่างกาย ฮอร์โมนที่สำคัญได้แก่เอสโตรเจน (Estrogen) การเสริม Estrogen เข้าร่างกาย ควรคำนึงถึงผลข้างเคียง ในระยะสั้นอาจยังไม่เห็นผลชัดเจน แต่ระยะยาว อาจเกิดภาวะผิดปกติแก่ร่างกาย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดดำอุดตัน/ลิ่มเลือดที่ปอด มะเร็งเต้านม ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) สูงรุนแรง (ควรระวังการใช้เอสโตรเจนชนิดรับประทาน) และการทำงานของตับหรือไตผิดปกติโปรเจสเตอโรน (Progesterone) บางคนเชื่อว่าทำให้เต้านมมีการพัฒนาคล้ายธรรมชาติ บางการวิจัยพบว่าผลต่อเต้านม ยังไม่ชัดเจน การใช้โปรเจสเตอโรนในหญิงวัยทอง พบมะเร็งเต้านมสูงขึ้นโดยเฉพาะ การใช้ร่วมกับเอสโตรเจน หลาย guideline ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะอาจทำให้เกิดหลอดเลือดดำอุดตัน เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองเพิ่มขึ้น มีภาวะซึมเศร้า มีน้ำหนักเพิ่ม และไขมันในเลือดสูงกลุ่มต้านฮอร์โมนเพศชาย (Anti-Androgen hormones) กลไกสำคัญในการข้ามเพศของสาวประเภทสองคือ การเพิ่มฮอร์โมนหญิง และลดฮอร์โมนชาย โดยปกติแล้ว เมื่อเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิงเพียงอย่างเดียว ในระยะยาว ร่างกายจะมีกลไกกดการสร้างฮอร์โมนเพศชายให้ลดลงเอง หญิงข้ามเพศที่มีรูปร่าง หรือผิวละเอียด มีขนน้อย อาจเพียงแค่เสริมฮอร์โมนเพศหญิง และไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านฮอร์โมนเพศชายก็ได้ แต่บางรายที่ร่างกายมีความเป็นผู้ชายมาก หรือบางรายที่ไม่พึงพอใจในรูปร่าง ก็สามารถใช้ยาต้านฮอร์โมนในระยะหนึ่งจนพอใจ ทั้งนี้ต้องให้แพทย์คอยติดตาม การใช้ยาควรคำนึงถึง วัย และภาวะโรคภัยด้วย

Tag:ฮอร์โมนเพื่อความเป็นหญิง, ฮอร์โมนเพื่อความเป็นชาย, การใช้ฮอร์โมนในเด็กและวัยรุ่น,

โพสต์โดย: GenDHL

23

0

เรื่องสำคัญที่ควรรู้ของคนข้ามเพศ ก่อนเริ่มเปลี่ยนตัวเองด้วยการเทคฮอร์โมน

การเทคฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศ LGBTQ+ เป็นสิ่งจำเป็นต่อกลุ่มคนข้ามเพศ หรือ ทรานส์เจนเดอร์ (Transgender) ที่ตัดสินใจแล้วว่าต้องการเปลี่ยนตนเอง ซึ่งจะช่วยกดฮอร์โมนเพศเดิมให้ลดลง และเสริมฮอร์โมนเพศใหม่ที่ต้องการ คือ จากชายกลายเป็นหญิง หรือจากหญิงกลายเป็นชายอย่างสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ การเทคฮอร์โมนจะต้องใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ เนื่องจากร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน การใช้ยาที่เหมาะสมกับแต่ละคนจึงต่างกัน แต่มีคนจำนวนไม่น้อยใช้โดยไม่ปรึกษาแพทย์จึงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เพื่อสร้างความเข้าใจการเทคฮอร์โมน และให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการรวมทั้งปลอดภัยต่อสุขภาพ มาทำความเข้าใจในเรื่องนี้กัน การเทคฮอร์โมนคืออะไรการเทคฮอร์โมน คือ การรับฮอร์โมนเพศที่ต้องการเข้าสู่ร่างกาย เพื่อให้สรีระร่างกายเกิดความเปลี่ยนแปลงไปยังเพศที่ตนเองต้องการ หรือที่ได้รับมา โดยการเทคฮอร์โมนสำหรับกลุ่มคนข้ามเพศ หรือ ทรานส์เจนเดอร์ (Transgender) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่การเทคฮอร์โมนสำหรับชายเป็นหญิง (Feminizing hormone therapy) หรือที่เรียกว่า หญิงข้ามเพศ (Transwomen) ด้วยการให้ยายับยั้งฮอร์โมนเพศชายเพื่อลด หรือกดฮอร์โมนเพศชายให้น้อยลง และเสริมฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เพื่อให้ฮอร์โมนความเป็นชายไม่เหลือ เพื่อเปลี่ยนสรีระร่างกายให้คล้ายเพศหญิงมากขึ้น เช่น ลดการมีหนวด เครา เปลี่ยนเสียงให้แหลมขึ้น เค้าโครงหน้าตาหวานขึ้น เป็นต้นการเทคฮอร์โมนสำหรับหญิงเป็นชาย (Masculinizing hormone therapy) หรือที่เรียกว่า ชายข้ามเพศ (Transman) เป็นการเสริมฮอร์โมนเพศชาย ได้แก่ ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) หรือเทสโทสเทอโรน (Testosterone) โดยจะเข้าไปลดทอน หรือกำจัดฮอร์โมนเพศหญิงที่มีอยู่เดิมให้ค่อยๆ หายไป แล้วเสริมและกระตุ้นฮอร์โมนเพศชายขึ้นมาแทน เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระคล้ายเพศชายมากขึ้น เช่น มีขน หนวด เครา มีเสียงใหญ่ขึ้น มีกล้ามเนื้อเติบโตและแข็งแรงมากขึ้น และประจำเดือนลดลงปราศจากเลือด เป็นต้น การเทคฮอร์โมนมีแบบใดบ้างการเทคฮอร์โมนสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสุขภาพร่างกายแต่ละบุคคล รวมทั้งตามคำแนะนำของแพทย์ ได้แก่รูปแบบยาเม็ดรับประทานรูปแบบยาฉีด จะออกฤทธิ์เร็วกว่าแบบรับประทานและออกฤทธิ์ได้นาน โดยผ่านเข้าสู่กระแสเลือดและออกฤทธิ์ได้โดยตรง ทำให้ระดับยาในเลือดค่อนข้างสม่ำเสมอรูปแบบการให้ยาฮอร์โมนทาทางผิวหนัง เพื่อให้ยาซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือดและออกฤทธิ์ได้โดยตรง ก่อนเทคฮอร์โมนต้องตรวจสุขภาพและผ่านเกณฑ์อะไรบ้างการเทคฮอร์โมนจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น และก่อนการเทคฮอร์โมนจำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมและผ่านเกณฑ์ดังนี้ต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป มีความสามารถในการตัดสินใจและให้ความยินยอมในการรักษาได้ผู้ที่มีอายุ 18 - 20 ปี ต้องมีผู้ปกครองเซ็นยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจะต้องผ่านการพบจิตแพทย์ 2 ท่าน เพื่อประเมินสภาพจิตใจว่าผู้รับบริการต้องการจะเป็นคนข้ามเพศแน่ ๆ หรือ ได้รับการยืนยันว่ามีภาวะ Gender dysphoria (GD) คือ เป็นผู้ที่ไม่มีความสุขกับสรีระทางเพศแต่กำเนิดอย่างรุนแรงจริง และไม่มีภาวะทางจิตเวชก่อนเทคฮอร์โมนเพศต้องผ่านการตรวจสุขภาพ ตรวจวัดระดับฮอร์โมน และความพร้อมของร่างกายก่อน เช่น การตรวจตรวจเลือด ดูระดับไขมันในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจดูการทำงานของตับ ไต ว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ พร้อมซักประวัติภาวะเสี่ยงการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดัน ประวัติการเป็นมะเร็งในครอบครัวสายตรง การรับประทานยาตัวใดเป็นประจำ หรือโรคประจำตัวต่างๆ เป็นต้นมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีประวัติแพ้ยาในเพศหญิงที่ต้องการเป็นชายต้องไม่มีภาวะการตั้งครรภ์ คนข้ามเพศมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อเทคฮอร์โมนแล้วความเปลี่ยนแปลงจะเริ่มเห็นได้เมื่อผ่านการเทคฮอร์โมนอย่างสม่ำเสมอ หลัง 3-6 เดือนขึ้นไป ดังนี้สำหรับหญิงข้ามเพศ หรือ ทรานส์วูแมน (Transwomen) ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ได้แก่ การมีสรีระเล็กลง ขนบริเวณร่างกายและใบหน้าจะลดลง เต้านมขยายใหญ่ขึ้น ขนาดของกล้ามเนื้อเล็กลง เสียงเล็กแหลมขึ้น มีไขมันสะสมเพิ่มขึ้นบริเวณสะโพก ผิวเนียนขึ้น เป็นต้นสำหรับชายข้ามเพศ หรือ ทรานส์แมน (Transman) ซึ่งการรับฮอร์โมนเพศชาย ได้แก่ ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) หรือเทสโทสเทอโรน (Testosterone) จะทำให้ร่างกายปรับตามไปด้วย เช่น ทำให้ประจำเดือนลดน้อยลง มีขนขึ้นตามใบหน้าและร่างกายมากขึ้น เสียงทุ้มขึ้น กล้ามเนื้อขยายและแข็งแรงมากขึ้น โครงหน้าเปลี่ยน ผิวมันและหยาบขึ้น เป็นต้น หลังเทคฮอร์โมนต้องตรวจติดตามหรือไม่แพทย์จะตรวจติดตามสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่ายาฮอร์โมนได้เข้าสู่ร่างกายของคุณจริง โดยแพทย์อาจจะนัดประเมินทุก 3-6 เดือน ในปีแรก และ 1-2 ครั้งในปีต่อไป เพื่อดูอาการแสดงของเพศหญิงและเพศชาย รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ และตรวจวัดระดับฮอร์โมน testosterone และ estradiol ทุก 3-6 เดือน ซึ่งแพทย์อาจมีการปรับยา และ/หรือ สั่งยาเพิ่ม ตามความเหมาะสมของแต่ละคน อย่างไรก็ตามควรเข้ารับฮอร์โมนตามที่แพทย์นัดหมายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ไม่ควรเทคฮอร์โมนด้วยตัวเองเนื่องจากจะมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย สำหรับผู้ที่ต้องการเทคฮอร์โมนแนะนำให้ศึกษาหาข้อมูล เพื่อเตรียมพร้อมในการเปลี่ยนแปลง และเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทาง

Tag:การใช้ฮอร์โมนในผู้สูงอายุ, การใช้ฮอร์โมนในเด็กและวัยรุ่น, การผ่าตัดกล่องเสียง, ฮอร์โมนเพื่อความเป็นชาย,

โพสต์โดย: GenDHL

21

0

เลขที่ 88 ถนนติวานนท์ 3 (แยก 16) ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

02 968 8019

02 968 9885

คุยกับ Gen AI