เลือกธีมสี

ศัลยกรรม ศิลปะแห่งความงามที่น่าหลงไหล

“ศัลยกรรม” ศิลปะแห่งความงามที่น่าหลงไหล “ศัลยกรรม”  เป็นการเพิ่มความสวยงาม สร้างความมั่นใจ และเป็นที่นิยมอย่างมากในทั่วโลก ไม่เฉพาะแต่ผู้หญิง แม้กระทั่งผู้ชายก็ผ่านการทำศัลยกรรมเช่นกัน การที่หลายคนพยายามทำให้หน้าตาของตัวเองดูดีขึ้นด้วยเครื่องสำอาง อาจช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่แท้จริงแล้วปัญหาเรื่องโครงสร้างรูปทรง  ร่องรอยพับของผิว  ความหย่อนคล้อยของผิวหนัง จุดบกพร่องเหล่านี้ต้องอาศัยการผ่าตัดเพื่อแก้ไข  ปรับแต่งข้อด้อยให้เด่นขึ้น และสวยงามตามเทรนด์  ซึ่งที่เรียกติดปากกันว่า “สวยด้วยแพทย์” พร้อมเทรนด์การศัลยกรรมยอดฮิต ดังนี้ การเสริมจมูก เป็นอะไรที่เป็นที่นิยมกันมากจริงๆ ในทุกวันนี้ เพราะ จมูก เป็นสิ่งสำคัญบนใบหน้า จะทำให้เราดูเด่นขึ้น ยิ่งจมูกเรารับเข้ากับใบหน้าเท่าไหร่ จะทำให้เห็นถึงบุคลิกที่ดีขึ้นความมั่นใจที่เพิ่มมากขึ้น โดยปัจจุบันการผ่าตัดเสริมจมูกทำได้ง่ายมากขึ้น อาศัยเวลาในการพักฟื้นน้อยลง เนื่องจากแพทย์มีความชำนาญในการผ่าตัด และอาศัยเทคนิคการผ่าตัดใหม่ๆ อยู่เสมอเพื่อรองรับเทรนด์ในปัจจุบัน การเสริมหน้าอก  สามารถแก้ความรู้สึกส่วนตัวที่ว่าเต้านมของตัวเองมีขนาดเล็กเกินไป แก้ความหย่อยคล้อยของเต้านมภายหลังการมีบุตร ซึ่งจะสร้างความมั่นใจให้แก่สาวๆ ที่จะมีรูปร่างที่ดูดีขึ้น โดยซิลิโคน ที่ใช้ก็จะมีทั้งแบบผิวเรียบและผิวขรุขระ ให้เลือกซึ่งการใช้ซิลิโคนแบบผิวขรุขระก็จะช่วยลดการเกิดพังผืด หรือลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ การตัดตกแต่งตาบน หรือทำตา 2 ชั้น ศัลยกรรมทำตาสองชั้นส่วนใหญ่จะเหมาะกับผู้ที่อยากจะดูดีขึ้น และเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง โดยเฉพาะผู้ที่มีหนังตาชั้นเดียว หรือผู้ที่หนังตาตก โดยแบ่งง่ายๆ ออกเป็น 2 แบบคือการผ่าตัดในผู้ที่มีตาชั้นเดียวหรือมี 2 ชั้นอยู่แล้ว แต่ขนาดของชั้นค่อนข้างเล็กหรือที่เรียกว่า ตา 2 ชั้นหลบใน กรณีนี้ไม่มีผิวหนังส่วนเกินที่ต้องตัดออกมากนัก นิยมทำในผู้ที่มีอายุน้อยการผ่าตัดในผู้ที่มีตา 2 ชั้นอยู่เดิม ต่อมาเมื่อมีอายุมากขึ้นหนังตาเริ่มตกมาบังทำให้ชั้นตาดูเล็กลง การศัลยกรรมกลายเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ทำให้ดูเป็นเรื่องไม่อันตราย แต่ถึงอย่างไรก็ควรคำนึงถึงความปลอดภัย ทั้งก่อนและหลังการทำศัลยกรรม เพราะ ในความเป็นจริงการศัลยกรรมก็คือการผ่าตัดและการผ่าตัดทุกครั้งย่อมมีความเสี่ยง เช่น เสี่ยงกับการติดเชื้อ หรืออาจส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายทางใดก็ทางหนึ่งก็ได้ ดังนั้นก่อนทำควรศึกษาหาข้อมูลให้ดีเลือกแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันที่น่าเชื่อถือ ได้มาตรฐานในระดับสากล หรือสามารถมารับคำปรึกษาด้านการทำศัลยกรรมจากศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ ศูนย์ผิวพรรณและความงาม โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา หรือโทร.0 3825 9999 https://bangkokpattayahospital.com/th/health-articles-th/dermatology-and-cosmetic-surgery-th/surgery-beauty-th/

Tag:คลินิกเสริมความงาม,

โพสต์โดย: GenDHL

20

0

การศัลยกรรมคืออะไร ช่วยเสริมความงามได้จริงหรือ?

ผู้เชี่ยวชาญ เรื่องศัลยกรรมบนใบหน้าสถาบันศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์มากกว่า 40 ปี   ปรัชญาของธีรพรวิธีการศัลยกรรมของธีรพร ให้ความสำคัญในเรื่องของความงามอย่างเป็นธรรมชาติด้วยเทคนิคพิเศษที่มีแผลเล็ก บวมช้ำน้อย ไม่ต้องพักฟื้น และได้ผลลัพธ์ที่คงทน (Less is more)ซึ่งเทคนิคศัลยกรรมนี้จะเป็นการซ่อนรอยแผล ฟื้นตัวได้เร็ว และมีผลลัพธ์ที่เป็นธรรมชาติมากขึ้นเทคนิคของเรา   บริการของเราศัลยกรรมตาสองชั้นทางเลือกใหม่สำหรับการทำตาสองชั้นที่มีแผลเล็ก บวมช้ำน้อย หายไว คิดค้นโดยอาจารย์ชลธิศ ซึ่งเป็นเทคนิคพิเศษซ่อนรอยแผลและไม่ต้องพักฟื้นหลังทำเสร็จ (Less is more) ศัลยกรรมถุงใต้ตาธีรพรใช้เทคนิคพิเศษในการผ่าตัดถุงใต้ตาได้อย่างสมบูรณ์แบบด้วยวิธีการซ่อนรอยแผลและไม่ต้องพักฟื้น เพื่อแก้ไขอาการถุงใต้ตาอาจะเกิดได้จาก กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณใต้ตาที่เกิดความหย่อนยาน ทางธีรพรสามารถแนะนำและปรับรูปตาเพื่อให้ใบหน้าดูสดใส อ่อนเยาว์มากขึ้นในกระบวนการผ่าตัดถุงใต้ตา ศัลยกรรมยกคิ้วการปรับรูปคิ้วสามารถช่วยปรับโครงหน้าเพื่อให้ดูโดดเด่นและอ่อนเยาว์ลงได้ วิธีการยกคิ้วของธีรพรสามารถทำให้ใบหน้าสวยแบบธรรมชาติและดูอ่อนเยาว์ลง ศัลยกรรมเสริมจมูกศัลยกรรมทำจมูกของธีรพร สามารถปรับรูปจมูกให้ดูมีมิติเพิ่มมากขึ้นทำให้ใบหน้าสวยโดดเด่นอย่างเป็นธรรมชาติ ช่วยสร้างความมั่นใจและปรับบุคคลิกให้ดีขึ้น โดยอาจารย์แพทย์ธีรพร สามารถช่วยแนะนำและออกแบบให้ได้ตามความต้องการ ศัลยกรรมดึงหน้าการดึงหน้าเทคนิคพิเศษเฉพาะของธีรพรที่คิดค้นโดยอาจารย์ชลธิศ เป็นต้นตำหรับการดึงหน้ารูปแบบใหม่ที่มีชื่อเสียงในนานาประเทศ ด้วยเทคนิคการผ่าตัดซ่อนรอยแผล หายไว ไม่ต้องพักฟื้น ทำให้ใบหน้าดูอ่อนเยาว์ ย้อนวัย และให้ผลลัพธ์ที่คงทนยาวนาน ศัลยกรรมเสริมคางศัลยกรรมเสริมคางของธีรพรจะช่วยปรับรูปหน้าส่วนล่าง ให้รับกับทั้งใบหน้า ทำให้ใบหน้าดูเรียวและช่วยปรับบุคลิกให้มีความมั่นใจมากขึ้น ศัลยกรรมดึงคอธีรพรใช้การทำศัลยกรรมดึงคอเพื่อแกhปัญหาริ้วรอยความหย่อนคล้อยของผิวหนังบริเวณลำคอที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยจะใช้วิธีการผ่าตัดซ่อนรอยแผล และไม่ต้องพักฟื้น ผิวพรรณและความงามศูนย์ชะลอวัย ผิวพรรณความงาม และปลูกผม ธีรพรคลินิกพร้อมให้บริการโดยอาจารย์แพทย์เฉพาะทาง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ความสำเร็จของธีรพร การทำศัลยกรรม ถือเป็นงานฝีมือ ที่ต้องผสมความชำนาญทางการแพทย์เข้าไปด้วย จึงเป็นเหตุผลที่ธีรพรคัดเลือกเฉพาะผู้ที่มีความสามารถทางการแพทย์ที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนี้ เพื่อรับประกันมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสูงสุดและเพื่อผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมและน่าพึงพอใจที่สุดทีมแพทย์ธีรพร https://teerapornclinic.com/ 

Tag:คลินิกเสริมความงาม,

โพสต์โดย: GenDHL

28

0

การผ่าตัดศัลยกรรมใบหน้าเพิ่มความเป็นชายให้กับทรานส์เมน

การผ่าตัดศัลยกรรมใบหน้าเพิ่มความเป็นชายให้กับทรานส์เมนการผ่าตัดศัลยกรรมใบหน้า หญิงเป็นชาย สามารถยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศได้อย่างไร          การผ่าตัดศัลยกรรมใบหน้า หญิงเป็นชาย (FMS) มีบทบาทสำคัญในการยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศสำหรับชายข้ามเพศ ทำให้สรีระทางกายสัมพันธ์กับรูปลักณ์ทางเพศ การผ่าตัดศัลยกรรมใบหน้ามีใบหน้าที่เป็นผู้ชายมากยิ่งขึ้น และยังมีส่วนช่วยในการยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศ ดังนี้: บรรเทาความผิดปกติของใบหน้า: บุคคลข้ามเพศจำนวนมากประสบปัญหาในเรื่องความผิดปกติทางเพศ ซึ่งเป็นความทุกข์หรือความอึดอัดที่เกิดจากสรีระทางกายไม่สัมพันธ์กับอัตลักษณ์ทางเพศ สำหรับชายข้ามเพศ ความผิดปกติบนใบหน้าอาจเป็นสาเหตุสำคัญของความทุกข์ การผ่าตัดศัลยกรรมใบหน้า หญิงเป็นชาย สามารถแก้ปัญหานี้ได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ใบหน้าให้ดูเป็นชายมากขึ้นสร้างการรับรู้ตนเอง: การผ่าตัดศัลยกรรมใบหน้า หญิงเป็นชาย สามารถสร้างการรับรู้ตนเองและอัตลักษณ์ทางเพศ เมื่อชายข้ามเพศเห็นภาพสะท้อนในกระจกที่สัมพันธ์กับอัตลักษณ์ทางเพศ ก็จะรู้สึกถึงความเป็นตัวของตัวเอง ทำให้รู้สึกมั่นใจในร่างกายของตนเองมากขึ้น ช่วยยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศ พัฒนาอารมณ์และจิตใจ: การลดความผิดปกติของใบหน้าด้วยการผ่าตัดศัลยกรรมจะทำให้อารมณ์และจิตใจของชายข้ามเพศดีขึ้น สามารถบรรเทาอาการซึมเศร้า วิตกกังวล และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางเพศ เมื่อชายข้ามเพศรู้สึกสบายใจกับรูปลักษณ์ภายนอก ชีวิตความเป็นอยู่ก็จะดีขึ้น  เสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม: การผ่าตัดศัลยกรรมใบหน้า หญิงเป็นชาย ส่งผลต่อการรับรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศของผู้อื่น และการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ใบหน้าที่ดูเป็นชายมากขึ้นสามารถทำให้สังคมยอมรับ ลดความเข้าใจผิดทางเพศ และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ทำให้ชายข้ามเพศรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทำให้กล้าแสดงออก: การผ่าตัดศัลยกรรมใบหน้า หญิงเป็นชาย ช่วยให้บุคคลข้ามเพศกล้าแสดงออกถึงอัตลักษณ์ทางเพศด้วยความเชื่อมั่น สามารถปลดปล่อย และเพิ่มความเป็นตัวของตัวเองเพิ่มความมั่นใจ: การมีใบหน้าที่ดูเป็นชายมากขึ้นจากการผ่าตัดศัลยกรรมสามารถเพิ่มความเคารพตนเองและความมั่นใจ ความรู้สึกดีในรูปร่างหน้าตาของตัวเองจะนำไปสู่ความมั่นใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล และการประกอบอาชีพ ลดการเลือกปฏิบัติและอคติ: สังคมมักมีแนวคิดเกี่ยวกับเพศสภาพของบุคคลโดยพิจารณาจากลักษณะของใบหน้า การผ่าตัดศัลยกรรมใบหน้า หญิงเป็นชาย สามารถลดความเสี่ยงในการเลือกปฏิบัติและอคติในเพศสภาพทั้งจากสังคมและบุคคลแวดล้อม การมีใบหน้าที่ดูเป็นชายช่วยให้สังคมและผู้คนยอมรับในอัตลักษณ์ทางเพศของชายข้ามเพศมากขึ้น ยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศ: การผ่าตัดศัลยกรรมใบหน้า หญิงเป็นชาย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศ รวมถึงการบำบัดด้วยฮอร์โมน การผ่าตัดเปลี่ยนเสียง ช่วยให้ชายข้ามเพศสามารถระบุอัตลักษณ์ทางเพศของตนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม            การผ่าตัดศัลยกรรมใบหน้า หญิงเป็นชาย เป็นองค์ประกอบสำคัญของการยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศสำหรับชายข้ามเพศ แต่การยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศก็มิได้มีเพียงวิธีเดียว ชายข้ามเพศบางคนอาจเลือกการยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศวิธีอื่นที่แตกต่างออกไป เช่น การบำบัดด้วยฮอร์โมน การผ่าตัดเปลี่ยนเสียง ฯลฯ การตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดศัลยกรรมใบหน้า หญิงเป็นชาย เป็นเรื่องส่วนบุคคล ขึ้นอยู่กับความชอบ เป้าหมาย และความต้องการของแต่ละบุคคล 

Tag:การผ่าตัดเปลี่ยนเพศจากหญิงเป็นชาย, การผ่าตัดเปลี่ยนเพศจากชายเป็นหญิง, เพศภาวะ, คลินิกเสริมความงาม,

โพสต์โดย: GenDHL

22

0

5 ศัลยกรรมสุดฮิตในหมู่ผู้หญิงข้ามเพศ

5 ศัลยกรรมสุดฮิตในหมู่ผู้หญิงข้ามเพศ 1.เสริมหน้าอกความใฝ่ฝันแรก นั่นคือ การมีหน้าอก เพราะแสดงถึงความเป็นผู้หญิงที่มองได้ชัดเจนที่สุด ซึ่งท่านที่ไม่มีเนินเนื้อหน้าอกเลย ควรเสริมหน้าอกกลมสูง เพราะจะเสริมให้หน้าอกมีความเป็นธรรมชาติ ซึ่งสามารถเปิดแผลที่รักแร้ ปานนม หรือใต้ราวนม ซึ่งแต่ละจุดนี้จะมีความแตกต่างกันตรงที่แผลเปิดที่รักแร้ จะมองไม่เห็นรอยแผลหลังทำ ส่วนบริเวณปานนม หรือใต้ราวนม แผลจะหายง่ายกว่า 2.เสริมจมูกโดยปกติโครงสร้างสรีระเดิมที่มาจากเพศชาย จะมีผิวหนังค่อนข้างหนา เนื้อปลายปีกจมูกหนา และดั้งจมูกกว้าง ดังนั้น เมื่อเสริมจมูกจึงต้องเลือกเสริมด้วยซิลิโคนที่สันจมูก ร่วมกับแก้รูปทรงจมูก เพื่อปรับให้ใบหน้าดูคมและหวานขึ้น 3. เปลี่ยนเสียงแน่นอนว่า การมีเสียงเหมือนหรือคล้ายผู้หญิง จะดึงดูดความน่าสนใจต่อผู้ร่วมสนทนามากขึ้น เพราะเสน่ห์ของเสียงผู้หญิงจะมีความนุ่มนวลชวนน่าฟัง จึงทำให้การเปลี่ยนเสียง ยังคงเป็นกระแสของผู้ที่ต้องการเป็นผู้หญิง ซึ่งปัจจุบันวงการแพทย์มีแพทย์ผู้ชำนาญการโดยที่จะใช้ทำให้ชีวิตคุณง่ายขึ้น 4. ปากกระจับผู้ที่มีริมฝีปากบางได้รูปเป็นปากกระจับ จะช่วยเสริมให้ใบหน้าดูหวานและสวยขึ้น อีกทั้งยังเป็นความนิยมตามแบบดารานักแสดงที่มีปากสวยเข้ารูป จึงไม่แปลกที่การตกแต่งปากให้ได้รูปบาง จะเป็นที่นิยมกับสาว ๆ กลุ่มนี้เช่นกัน 5. แปลงเพศสุดยอดของความปรารถนาของผู้หญิงข้ามเพศเกือบทุกคน ที่จะทำให้ฝันเป็นจริง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใคร ๆ จะทำกันได้ เพราะการผ่าตัดแปลงเพศต้องพบแพทย์เพื่อปรึกษาความพร้อมในทุก ๆ ด้านทั้งร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงภาวะสุขภาพโดยรวม ที่สำคัญต้องอาศัยแพทย์ผู้ผ่าตัดที่มีประสบการณ์และความชำนาญโดยตรงเท่านั้นค่ะhttps://th.yanhee.net/

Tag:ศัลยกรรมหน้าอก, ศัลยกรรมใบหน้า, คลินิกเสริมความงาม,

โพสต์โดย: GenDHL

15

0

เทคฮอร์โมนเพศหญิง การให้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการแปลงเพศชายเป็นหญิง (Feminizing hormone therapy) ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร? กี่วันถึงจะเห็นผล?

เทคฮอร์โมนเพศหญิง การให้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการแปลงเพศชายเป็นหญิง (Feminizing hormone therapy) ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร? กี่วันถึงจะเห็นผล?HDmall สรุปให้การให้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการแปลงเพศชายเป็นหญิง (Feminizing hormone therapy) หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า “เทคฮอร์โมน” เป็นสิ่งที่หญิงข้ามเพศ (Transgender women) รู้จักกันดี เพราะเป็นขั้นตอนแรกของการแปลงเพศชายเป็นหญิง (MTF Sex Reassignment Surgery) เพื่อปรับเปลี่ยนร่างกายให้คล้ายผู้หญิงมากขึ้น และเตรียมความพร้อมสำหรับการแปลงเพศ การเทคฮอร์โมนเพศหญิง จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย 1-3 เดือน หลังเทคฮอร์โมนและเห็นผลเต็มที่ ภายใน 3 ปี ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้นหลังเทคฮอร์โมนเพศหญิงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เช่น อารมณ์ทางเพศลดลง การแข็งตัวของอวัยวะเพศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติลดลง ผมร่วงลดลง มวลกล้ามเนื้อลดลง มีพัฒนาการของเต้านม หรือการเจริญเติบโตของขนบนใบหน้า และร่างกายลดลง เปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาผ่าตัดแปลงเพศชายเป็นหญิง หรือแอดไลน์ @hdcothการให้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการแปลงเพศชายเป็นหญิง (Feminizing hormone therapy) หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า “เทคฮอร์โมน” เป็นสิ่งที่หญิงข้ามเพศ (Transgender women) รู้จักกันดี เพราะเป็นขั้นตอนแรกของการแปลงเพศชายเป็นหญิง (MTF Sex Reassignment Surgery) เพื่อปรับเปลี่ยนร่างกายให้คล้ายผู้หญิงมากขึ้น และเตรียมความพร้อมสำหรับการแปลงเพศ โดยในบทความนี้ HDmall.co.th จะไปทำความรู้จักกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย หลังจากได้รับการเทคฮอร์โมนเพศหญิงติดต่อกันเป็นระยะเวลานานการเทคฮอร์โมนเพศหญิง ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?การให้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการแปลงเพศชายเป็นหญิง แพทย์จะให้ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เช่น 17-beta estradiol หรือ Estradiol valerate เพื่อเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศหญิงให้สูงขึ้น ทำให้ร่างกายเติบโตไปในลักษณะเพศหญิง ร่วมกับให้ยาฮอร์โมนต้านฤทธิ์แอนโดรเจน (Anti-androgen) เช่น Cyproterone acetate, Spironolactone หรือ Finasteride เพื่อลดระดับฮอร์โมนเพศชายลง ป้องกันไม่ให้ร่างกายเจริญเติบโตไปในลักษณะเพศชาย หรือขจัดลักษณะที่บ่งบอกถึงเพศกำเนิดออก เช่น ขนตามใบหน้าและร่างกาย โดยหลังจากที่เทคฮอร์โมนเพศหญิงตามปริมาณที่แพทย์แนะนำ อย่างมีวินัย ร่างกายจะเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในช่วง 1-3 เดือน หลังเทคฮอร์โมน และเห็นผลเต็มที่ หลังจากที่เทคฮอร์โมนไปแล้ว 2-3 ปีตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย หลังเทคฮอร์โมนเพศหญิง อารมณ์ทางเพศลดลง เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง 1-3 เดือน หลังเทคฮอร์โมน โดยผลลัพธ์สูงสุดจะเกิดขึ้นภายใน 1-2 ปีการแข็งตัวของอวัยวะเพศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติลดลง เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง 1-3 เดือน หลังเทคฮอร์โมน โดยผลลัพธ์สูงสุดจะเกิดขึ้นภายใน 3-6 เดือนผมร่วงน้อยลง เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง 1-3 เดือน หลังเทคฮอร์โมน โดยผลลัพธ์สูงสุดจะเกิดขึ้นภายใน 1-2 ปีผิวนุ่มขึ้น มีความมันน้อยลง เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง 3-6 เดือน หลังเทคฮอร์โมนลูกอัณฑะฝ่อ เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง 3-6 เดือน หลังเทคฮอร์โมน โดยผลลัพธ์สูงสุดจะเกิดขึ้นภายใน 2-3 ปีพัฒนาการของเต้านม เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง 3-6 เดือน หลังเทคฮอร์โมน โดยผลลัพธ์สูงสุดจะเกิดขึ้นภายใน 2-3 ปีการสะสมไขมันบริเวณต่างๆ เหมือนผู้หญิง เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง 3-6 เดือน หลังเทคฮอร์โมน โดยผลลัพธ์สูงสุดจะเกิดขึ้นภายใน 2-5 ปีมวลกล้ามเนื้อลดลง เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง 3-6 เดือน หลังเทคฮอร์โมน โดยผลลัพธ์สูงสุดจะเกิดขึ้นภายใน 1-2 ปีการเจริญเติบโตของขนบนใบหน้า และร่างกายลดลง เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง 6-12 เดือน หลังเทคฮอร์โมน โดยผลลัพธ์สูงสุดจะเกิดขึ้นภายใน 3 ปี หมายเหตุ: ระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังเทคฮอร์โมนในแต่ละบุคคล อาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ช่วงอายุที่เริ่มเทคฮอร์โมน การตอบสนองของร่างกายต่อยาฮอร์โมน หรือขนาดยาฮอร์โมนที่รับประทาน หลังผ่าตัดแปลงเพศชายเป็นหญิงแล้ว ต้องเทคฮอร์โมนเพศหญิงต่อหรือไม่?  หลังเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศชายเป็นหญิง แปลงน้องชายให้เป็นน้องสาวแล้ว ยังคงต้องเทคฮอร์โมนต่อไป เพื่อรักษาลักษณะร่างกายทางเพศหญิงไว้ และป้องกันการเกิดภาวะกระดูกบางอย่างไรก็ตาม การเทคฮอร์โมนหลังแปลงเพศจะมีความแตกต่างจากการเทคฮอร์โมนก่อนแปลงเพศ ดังนี้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ลดขนาดยาลงให้เหลือเท่ากับการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนฮอร์โมนต้านฤทธิ์แอนโดรเจน ให้หยุดใช้ยา เว้นแต่จะยังมีขนหนาแบบผู้ชายอยู่ จะเห็นได้ว่า ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังเทคฮอร์โมนเพศหญิง ต้องใช้ระยะเวลา และจะค่อยๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นทีละส่วน ตามลำดับ โดยจะเห็นการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งร่างกายอย่างชัดเจนหลังจากที่เทคฮอร์โมนเพศหญิงไปแล้ว 2-3 ปี ดังนั้นการเทคฮอร์โมนเพศหญิงให้เห็นผลจะต้องอาศัยความใจเย็น การมีวินัยในการรับประทานยาฮอร์โมน และรักษาระดับฮอร์โมนให้คงที่ตามที่แพทย์แนะนำอยู่เสมอ

Tag:ศัลยกรรมหน้าอก, ศัลยกรรมใบหน้า, การผ่าตัดเปลี่ยนเพศจากหญิงเป็นชาย, การผ่าตัดเปลี่ยนเพศจากชายเป็นหญิง,

โพสต์โดย: GenDHL

25

0

การผ่าตัดแปลงเพศ

การผ่าตัดแปลงเพศคนข้ามเพศมีความต้องการที่หลากหลาย การผ่าตัดแปลงเพศสำหรับชายและหญิงข้ามเพศ คนข้ามเพศมีความต้องการที่หลากหลาย การผ่าตัดแปลงเพศสำหรับชายและหญิงข้ามเพศ จำแนกรูปแบบการผ่าตัดเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การผ่าตัดหน้าอก (Top Surgery) ประกอบด้วยการตัดหน้าอกและการเพิ่มขนาดของหน้าอกการผ่าตัดอวัยวะเพศ (Bottom Surgery) ประกอบด้วยการตัดมดลูกและรังไข่ การสร้างอวัยวะเพศชายใหม่ การสร้างช่องคลอดใหม่และการตัดอัณฑะการผ่าตัดอื่น ๆ หมายถึงการเสริมสะโพก การเหลาลูกกระเดือก การเหลากราม การเปลี่ยนโครงหน้าให้เป็นหญิงหรือชาย การพบจิตแพทย์ก่อนแปลงเพศสำคัญอย่างไร ก่อนรับการผ่าตัดแต่ละชนิดอย่างละเอียดตามเกณฑ์มาตรฐานของประเทศไทย โดยเบื้องต้นต้องผ่านการวินิจฉัยและยืนยันจากจิตแพทย์ว่ามีความประสงค์ที่จะแปลงเพศจริง ไม่ใช่ความปรารถนาเพียงชั่วขณะ เนื่องจากการผ่าตัดจะทำได้ครั้งเดียว หากแปลงเพศแล้วไม่อาจแปลงกลับมาดังเดิมได้ ใครที่ไม่ผ่านการวินิจฉัยของจิตแพทย์ย่อมผ่าตัดไม่ได้ จิตแพทย์เพียงต้องการความมั่นใจว่าผู้เข้ารับบริการแน่วแน่ในเจตจำนงของตนโดยจะไม่เสียใจภายหลัง และไม่ใช่ความสับสนอย่างที่อาจเกิดขึ้นกับคนไข้จิตเภทที่มีอาการหลงคิดว่าตนอยากแปลงเพศ อยากเป็นคนข้ามเพศ มีปัญหาบุคลิกภาพหรือเป็นผู้ที่มีความสุขทางเพศจากการแต่งกายเป็นเพศตรงข้ามเท่านั้น นอกจากนี้อาจต้องผ่านการดำเนินชีวิตในวิถีของคนข้ามเพศมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี และสำหรับการผ่าตัดบางชนิดก็ควรได้รับยาฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศแล้วอย่างน้อย 1 ปี ส่วนใครที่แพ้ยาสลบ ไม่สามารถดมยาได้ รวมทั้งใครที่ร่างกายไม่อาจผ่าตัดได้ก็จะไม่ได้รับบริการการผ่าตัดเพื่อการข้ามเพศได้ อายุเท่าใดจึงเข้ารับบริการแปลงเพศได้ผู้รับบริการที่มีอายุ 18-20 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองก่อนเสมอ ตามข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมเรื่องเกณฑ์การรักษาเพื่อแปลงเพศ พ.ศ.2552 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวัยผู้ใหญ่เป็นหลัก อย่างไรก็ตามไม่มีการระบุชัดว่าอายุที่เหมาะสมสำหรับการเปลี่ยนแปลงนั้นคือกี่ปี ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้รับบริการเป็นสำคัญ เนื่องจากบางคนต้องการข้ามเพศในวัยรุ่น อีกคนกลับต้องการหลังอายุ 40 ปีแล้ว https://empowerliving.doctor.or.th/case/31

Tag:คลินิกเสริมความงาม, การผ่าตัดเปลี่ยนเพศจากหญิงเป็นชาย, การผ่าตัดเปลี่ยนเพศจากชายเป็นหญิง,

โพสต์โดย: GenDHL

17

0

การแปลงเพศ

การแปลงเพศเกณฑ์การเข้ารับผ่าตัดผู้ป่วยต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปี ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 20 ปีจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อนผู้ป่วยจะต้องได้รับการอนุมัติจากจิตแพทย์ (แพทยศาสตรบัณฑิต) นักสังคมสงเคราะห์จิตเวช (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) หรือนักจิตวิทยาคลินิก (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) และต้องมีจดหมายรับรอง หัตถการผ่าตัดหัตถการนี้เป็นการผสมผสานระหว่างการสร้างช่องคลอดจากผิวหนังอวัยวะเพศชาย และการปลูกถ่ายผิวหนังแบบเต็มความหนา โดยจะมีการสร้างช่องคลอดและช่องเปิดใต้ท่อปัสสาวะ และต่อม ลูกหมาก ผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่มักกังวลเกี่ยวกับความลึกของช่องคลอดซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างความลึกนี้ คือปริมาณผิวหนังขององคชาติ เทคนิคของเราสามารถเพิ่มความลึกของ ช่องคลอดโดยใช้การปลูกถ่ายผิวหนัง แบบเต็มความหนาโดยใช้ผิวหนังบริเวณถุงอัณฑะ โดยจะต้องกำจัดขนบนถุงอัณฑะออกก่อน เพื่อให้สามารถปลูกถ่ายผิวหนังที่ส่วนปลายของแผ่นหนังหุ้ม องคชาติได้ ซึ่งเทคนิคนี้สามารถเพิ่มความลึกของช่องคลอดได้อีก อย่างน้อย 2 นิ้ว นอกจากนี้ส่วนหนึ่งของต่อมบริเวณส่วนหัวขององคชาติ ซึ่งมีเส้นประสาทและหลอดเลือดอยู่จะถูกเปลี่ยนเป็น คลิตอริส เพื่อให้คลิตอริสที่สร้างขึ้นใหม่นี้ มีรูปร่างและสามารถรับความรู้สึกได้เช่นเดียวกันกับคลิตอริสของผู้หญิง ควรกำจัดเนื้อเยื่อที่สามารถแข็งตัวได้ส่วนเกินรอบท่อปัสสาวะออก เพื่อหลีกเลี่ยงการคั่งคัดของเนื้อเยื่อ ที่สามารถแข็งตัวได้ในระหว่างการตื่นตัวทางเพศ ซึ่งอาจส่งผลให้ช่องคลอดแคบลงนอกจากนี้ อาจต้องทำการเคลื่อนย้ายลำไส้ใหญ่ในผู้ป่วยที่ต้องการให้ช่องคลอดมีความลึกมากขึ้น (มากกว่า 8 นิ้ว) พักรักษาตัวในโรงพยาบาล14 คืนระยะเวลาการผ่าตัด6 - 8 ชั่วโมงยาชา / ยาสลบการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วตัวการดูแลก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องตรวจสุขภาพให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือนก่อนทำการผ่าตัดแปลงเพศ (Sex reassignment surgery: SRS) โดยผู้ป่วยจะต้องได้รับการยืนยันจากแพทย์ประจำตัวว่าปลอดจากโรค ร้ายแรงและต้องผ่านการตรวจเลือดดังต่อไปนี้ • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)• การตรวจเอชไอวี (HIV)• การตรวจสารอิเล็กโทรไลต์ (Electrolytes)• การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FBS)• การวิเคราะห์ครีเอตินในปัสสาวะ (Creatinine Urinalysis)• การตรวจสารแอลคาไลน์ฟอสฟาเทส (Alkaline Phosphatase)• การเอ็กซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray)• การตรวจการทำงานของตับ โดยการวัดเอนไซม์กลูตามิกอ็อกซาโลเอเซติกทรานซามิเนสในซีรั่ม (SGOT)• การตรวจเอนไซม์แลคเตตดีไฮโดรจีเนส (LDH)• การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) นอกจากนี้ ผู้ป่วยต้องหยุดการรักษาด้วยฮอร์โมนก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 14 วัน และไม่ควรใช้ฮอร์โมนเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดไม่ควรใช้ยาเม็ดชนิดรับประทาน 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด และไม่ควรใช้ยาฉีดเป็นเวลา 4 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด ไม่ควรใช้ยาต้านแอนโดรเจนชนิดรับประทาน 3 วันก่อน การผ่าตัด (4 สัปดาห์ สำหรับยาฉีด)โปรดแจ้งให้ศัลยแพทย์ของคุณทราบถึงอาการแพ้ โรคประจำตัว และยาที่กำลังใช้ (ทั้งที่ต้องมีและไม่มีใบสั่งยา)หลีกเลี่ยงยาที่มีส่วนผสมของแอสไพรินและบรูเฟนเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพื่อลดโอกาสในการมีเลือดออกหลังผ่าตัดไม่ควรสูบบุหรี่เป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เนื่องจากการสูบบุหรี่อาจส่งผลต่อ ปฏิกิริยาของคุณต่อยาชาและทำให้หายช้าลง ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงต้อง แจ้งศัลยแพทย์ก่อนการผ่าตัด https://www.phuketpsi.com/th/procedures/gender-change/

Tag:การตัดมดลูก, การตัดอัณฑะ, การผ่าตัดเปลี่ยนเพศจากหญิงเป็นชาย, การผ่าตัดเปลี่ยนเพศจากชายเป็นหญิง,

โพสต์โดย: GenDHL

7

0

การผ่าตัดแปลงเพศ

การผ่าตัดแปลงเพศการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงลักษณะเพศ เป็นวิธีหนึ่งในการรักษาผู้ที่ไม่ต้องการเพศของตัวเอง ซึ่งเป็นการรักษาที่ซับซ้อน และต้องมีการดูแลทั้งด้านจิตใจ สังคม และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน มี 2 แบบ คือ จากชายเป็นหญิงและจากหญิงเป็นชาย ซึ่งการผ่าตัดแปลงเพศชายเป็นหญิงทำมากกว่าการผ่าตัดแปลงหญิงเป็นชาย การผ่าตัดเปลี่ยนแปลงลักษณะเพศ เป็นวิธีหนึ่งในการรักษาผู้ที่ไม่ต้องการเพศของตัวเอง ซึ่งเป็นการรักษาที่ซับซ้อน และต้องมีการดูแลทั้งด้านจิตใจ สังคม และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน มี 2 แบบ คือ จากชายเป็นหญิงและจากหญิงเป็นชาย ซึ่งการผ่าตัดแปลงเพศชายเป็นหญิงทำมากกว่าการผ่าตัดแปลงหญิงเป็นชาย การผ่าตัดแปลงเพศ แบ่งเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก คือส่วนของอัณฑะและองคชาติในผู้ชาย ส่วนในผู้หญิงคือรังไข่ และมดลูกรูปลักษณ์แสดงเพศอย่างอื่น เช่น กระดูกกล่องเสียง (Adam apple) ในผู้ชาย และเต้านมในผู้หญิง การแปลงเพศจะเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนก็ได้ แต่โดยทั่วไปในรายที่ต้องการเปลี่ยนจากชายเป็นหญิงอาจจะเริ่มจากเสริมเต้านมด้วยถุงเต้านมเทียม ต่อมาตัดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และตัดกระดูกกล่องเสียง เป็นต้น การผ่าตัดแปลงอวัยวะเพศชายเป็นหญิงขั้นตอนการผ่าตัดอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย ร่วมกับสร้างช่องคลอดและลักษณะอวัยวะเพศหญิง โดยทั่วไปการผ่าตัดจะใช้เวลาประมาณ 4- 5 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะถูกดมยาสลบหรือให้ยาชาเข้าไขสันหลัง หลังจากเตรียมทำความสะอาด แพทย์จะสวนสายยางที่ท่อปัสสาวะ เริ่มสร้างช่องคลอดใหม่โดยกรีดผิวหนังระหว่างถุงอัณฑะและรูทวารหนัก จากนั้นจะเลาะโพรงเข้าไปจนถึงใกล้กับเยื่อบุช่องท้อง องคชาติและท่อปัสสาวะจะถูกตัดให้สั้น โดยเก็บผิวหนังที่หุ้มไว้ เลาะเอาอัณฑะออก หลังจากนั้นผิวหนังของอัณฑะและองคชาติจะถูกดันเข้าไปในช่องคลอดที่เลาะไว้ ถ้าผิวหนังไม่พอก็จะหาผิวหนังจากบริเวณขามาเสริม ผิวหนังโดยรอบจะเย็บปิดพร้อมกับเจาะรูท่อปัสสาวะและตุ่มคริตอริส ส่วนผิวหนังภายนอกจะถูกเย็บแต่งเป็นกลีบปากช่องคลอด แล้วจึงใส่ผ้าก๊อซเข้าไปในช่องคลอดเพื่อกันไม่ให้โพรงตีบแคบแผลผ่าตัดจะหายภายใน 7-14 วัน และอาจจะต้องนอนพักในโรงพยาบาลประมาณ 7 วันผลแทรกซ้อนที่พบบ่อยสุดคือ การตีบแคบของช่องคลอด การป้องกันคือต้องมีการขยายช่องคลอดโดยตัวผู้ป่วยเองอีกเป็นเวลา 3-6 เดือน ผลแทรกซ้อนอื่นอาจมีคือ เลือดคั่ง ติดเชื้อ เกิดทางต่อระหว่างช่องคลอดกับปัสสาวะหรือลำไส้ใหญ่ การผ่าตัดแปลงเพศหญิงเป็นชาย มีขั้นตอนยุ่งยากมากกว่า แบ่งออกได้เป็นตัดเต้านม ตัดอวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ตัดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกร่วมกับสร้างอวัยวะเพศชาย ส่วนใหญ่ผู้หญิงที่ต้องการมีลักษณะเป็นเพศชายอาจจะทำแค่ตัดเต้านมหรืออวัยวะสืบพันธุ์ภายใน คือ รังไข่และมดลูกออกก็พึงพอใจแล้ว แต่ถ้าต้องการสร้างอวัยวะเพศชาย ขั้นตอนการผ่าตัดก็คือ เลาะเอาเยื่อบุช่องคลอดออก หลังจากนั้นจะสร้างท่อปัสสาวะจากเยื่อบุช่องคลอดร่วมกับการสร้างองคชาติโดยการใช้ผิวหนังจากโคนขาหรือผิวหนังหน้าท้องก็ได้ การผ่าตัดนี้ไม่ยุ่งยากมากนัก แต่จะมีแผลเป็นบริเวณใกล้เคียงกันค่อนข้างมาก ถ้าใช้เนื้อเยื่อที่อยู่ไกลไป เช่น ใช้เนื้อจากแขนหรือต้นขาก็จะได้รูปร่างขององคชาติและท่อปัสสาวะที่ดีกว่า แต่การผ่าตัดจะใช้เวลานานขึ้น การใช้เนื้อเยื่อทั้ง 2 อย่างนี้อาจจะร่วมกับการใส่วัสดุเสริมทำให้องคชาติที่สร้างมีความแข็งแรงมากขึ้น การสร้างอัณฑะจะใช้ผิวหนังจากกลีบปากช่องคลอดร่วมกับการใส่วัสดุเทียมด้านในก็จะได้ผลดี ผลแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ การโผล่ของแกนที่ใส่เข้าไป และการตีบแคบของท่อปัสสาวะ ไม่ว่าจะพยายามเปลี่ยนลักษณะไปเป็นเพศใดก็ตาม การรักษาต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดจากความคิดที่ยังไม่ชัดเจน การรักษาจะมีประโยชน์แก่ผู้ที่มีความต้องการอย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ด้วยความมั่นใจมากขึ้นhttps://empowerliving.doctor.or.th/case/33

Tag:คลินิกเสริมความงาม, การผ่าตัดเปลี่ยนเพศจากหญิงเป็นชาย, การผ่าตัดเปลี่ยนเพศจากชายเป็นหญิง,

โพสต์โดย: GenDHL

14

0

ศัลยแพทย์ตกแต่ง ชี้สิทธิแปลงเพศ "บัตรทอง" LGBTQ+ ให้สิทธิคนใช้ชีวิต ย้ำก่อนผ่าต้องประเมินวางแผนกว่า 2 ปี

 นายกสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งฯ ชี้สิทธิผ่าตัดแปลงเพศ "บัตรทอง" ให้สิทธิดูแลกลุ่มเพศหลากหลาย ไทยมีความก้าวหน้า ให้ตัดสินใจใช้ชีวิต หากกระทบจิตใจรัฐก็ควรดูแล ย้ำก่อนผ่าต้องประเมินโดยแพทย์สหสาขา ใช้ฮอร์โมน 2 ปีเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ศ.คลินิก นพ.อภิรักษ์ ช่วงสุวนิช นายกสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เตรียมทำแพคเกจสำหรับกลุ่ม LGBTQ+ ทั้งส่งเสริมสุขภาพ รักษาฟื้นฟู ซึ่งรวมการผ่าตัดแปลงเพศด้วย ซึ่งที่ผ่านมามีสิทธิประโยชน์ในบัตรทองอยู่แล้ว แต่ต้องมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ว่า ส่วนตัวตนมองว่า นโยบายนี้เป็นการยอมรับว่า เราให้สิทธิในการตัดสินใจของแต่ละคนว่าอยากจะใช้ชีวิตอย่างไร ซึ่งหากเรื่องนี้กระทบต่อจิตใจของคนนั้นๆ จริง เรื่องนี้ก็สมควรเป็นเรื่องที่รัฐควรดูแล แต่ก็ต้องดูตามความเหมาะสมกันไปทั้งนี้ การผ่าตัดแปลงเพศในไทยมีระเบียบของแพทยสภา กำหนดว่า จะต้องมีการประเมินโดยแพทย์สหสาขา ทั้งจิตแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ แพทย์ผ่าตัด แพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ เพื่อดูว่ามีความพร้อมในการใช้ชีวิตด้วยเพศตรงข้ามได้หรือไม่ จากนั้นจะต้องเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้ที่จะทำการผ่าตัด เพื่อกำหนดแผนการผ่าตัดและการใช้ฮอร์โมนเพศอย่างน้อย 2 ปี ดังนั้น ผู้ที่ใช้ฮอร์โมนด้วยตนเองมาก่อน โดยไม่ได้อยู่ในแผนการผ่าตัดจะต้องเข้ารับการใช้ฮอร์โมนจากแพทย์อีกครั้งเป็นเวลา 2 ปี จึงจะทำการผ่าตัดส่วนที่เป็นอวัยวะเพศได้ เรื่องนี้จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบเพราะผ่าตัดไปแล้วจะไม่สามารถผ่าตัดกลับมาเป็นเช่นเดิมได้  "การผ่าตัดทุกอย่างมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ แต่ถ้าทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็จะลดโอกาสเสี่ยงได้มาก ซึ่งการผ่าตัดจากหญิงเป็นชาย จะมีความซับซ้อนมากกว่าจากชายเป็นหญิง ที่จะต้องมีการตัดมดลูกและรังไข่ เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของการผลิตฮอร์โมน ฉะนั้น การผ่าตัดแปลงเพศเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และสำคัญจากจิตใจ อวัยวะ การใช้ชีวิต สิ่งแวดล้อม ครอบครัว จึงไม่ใช่เรื่องง่ายในการตัดสินใจผ่าตัดแปลงเพศ" ศ.คลินิก นพ.อภิรักษ์กล่าวเมื่อถามว่า รพ.รัฐมีการผ่าตัดแปลงเพศหรือไม่ ศ.คลินิก นพ.อภิรักษ์กล่าวว่า มี เริ่มให้บริการมากว่า 20 ปีแล้ว แต่ระเบียบด้านการประเมินโดยจิตแพทย์เพิ่งจะเริ่มใช้เมื่อช่วง 10 ปีหลัง โดย รพ. ที่ให้บริการผ่าตัดแปลงเพศส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนแพทย์ที่มีการฝึกอบรมสายงานด้านการศัลยกรรมตกแต่ง ด้านประสาทวิทยาศาสตร์ ด้านระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดอยู่แล้ว มีอยู่ประมาณ 10 แห่ง ได้แก่ รพ.ศิริราช รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.รามาธิบดี รพ.พระมงกุฎเกล้า รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ รพ.สงขลานครินทร์ ส่วน รพ.ในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ก็เริ่มมีบริการใน รพ.ศูนย์ใหญ่ๆ แต่ยังมีไม่มาก เช่น รพ.เลิดสิน  เมื่อถามถึงค่าใช้จ่ายในผ่าตัดแปลงเพศทั้ง รพ.รัฐ และเอกชน ศ.คลินิก นพ.อภิรักษ์กล่าวว่า ค่าใช้จ่ายเฉพาะการผ่าตัด หากจากชายเป็นหญิง รพ.เอกชนจะอยู่เริ่มต้นราวๆ 300,000 บาทขึ้นไป ส่วนหญิงเป็นชาย ค่าใช้จ่ายสูงกว่าเป็นเท่าตัวอาจจะถึงหลักล้านบาท ที่เราเห็นว่าหลายคนไปผ่าตัดแปลงเพศใน รพ.เอกชน เพราะว่าคิวของ รพ.รัฐ ค่อนข้างเยอะ ต้องใช้เวลานานมากกว่าจะถึงคิวการพบแพทย์ เพื่อวางแผนการผ่าตัด แต่ในเรื่องของค่าใช้จ่ายการผ่าตัดแปลงเพศใน รพ.รัฐ จะต่ำกว่า รพ.เอกชน ประมาณ 2 – 3 เท่าตัว ก็จะอยู่ราวๆ หลักแสนปลายถามถึงข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการใช้งบประมาณที่ไม่คุ้มค่า ควรนำงบฯ ไปใช้เพื่อการรักษาผู้ป่วยมากกว่า ศ.คลินิก นพ.อภิรักษ์กล่าวว่า อันนี้ก็เป็นอีกมุมมองหนึ่ง แต่การให้สิทธิในการดูแลประชาชนเรื่องความหลากหลายทางเพศ ไทยถือเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าที่สุดในกลุ่มประเทศเอเชีย เพราะส่วนใหญ่เรื่องนี้จะเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชนในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย https://mgronline.com/qol/detail/9660000108907

Tag:การผ่าตัดเปลี่ยนเพศจากชายเป็นหญิง, การผ่าตัดเปลี่ยนเพศจากหญิงเป็นชาย,

โพสต์โดย: GenDHL

14

0

แปลงเพศ ≠ เสริมสวย: ว่าด้วยความไม่ลงรอยในอัตลักษณ์ทางเพศ และสวัสดิการในฐานะคนเท่ากัน

แปลงเพศ ≠ เสริมสวย: ว่าด้วยความไม่ลงรอยในอัตลักษณ์ทางเพศ และสวัสดิการในฐานะคนเท่ากันเราหมายถึงอะไรเมื่อเราพูดว่าคนเท่ากัน? เกิดเสียงพูดคุยมากมาย หลังมีข่าวที่เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้พูดคุยเกี่ยวกับกรณีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ผ่าตัดแปลงเพศในกลุ่ม LGBTQ+ ว่าการผ่าตัดดังกล่าวครอบคลุมอยู่ในสิทธิบัตรทองมาตั้งแต่ปี 2561 และจะมีการออกประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพเกี่ยวข้องกับขอบเขตของบริการดังกล่าวให้ชัดเจน ซึ่งเสียงพูดคุยนั้นก็มีหลากหลาย แต่เสียงที่ดังขึ้นมาคือเสียงที่ถามขึ้นมาว่า “ถ้าอย่างนั้นทำไมไม่มีสิทธิทำศัลกรรมฟรีสำหรับคนตรงเพศ” เสียงที่เกิดขึ้นมาอย่างไม่น่าแปลกใจ เพราะมันเป็นเสียงรูปแบบเดิมๆ ที่กลับขึ้นมาทุกครั้งเมื่อมีการพูดคุยเกี่ยวกับสิทธิผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งหลายๆ ครั้งมาจากกลุ่มคนที่แสดงตัวว่าพวกเขาเชื่อว่า ‘คนเท่ากัน’ เสียด้วยซ้ำ ทำไมคนข้ามเพศบางคนต้องการศัลยกรรม? ศัลยกรรมแปลงเพศเกี่ยวข้องกับเรื่องภายในใจยังไง? แล้วเราหมายถึงอะไร เมื่อเราพูดว่าคนเท่ากัน?ในคำให้สัมภาษณ์ของนพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสปสช. กล่าวชัดเจนว่าการผ่าตัดแปลงเพศนั้นเป็นศัลยกรรมทางการแพทย์และไม่เกี่ยวข้องกันกับศัลยกรรมเสริมสวย การจะผ่าตัดแปลงเพศที่จะครอบคลุมในสิทธิประโยชน์ต้องขึ้นกับการวินิจฉัยและมีการบ่งชี้ของแพทย์ ซึ่งเป็นอีกบทสนทนาที่เราจะเอาไว้คุยกันเมื่อเรารู้ถึงขอบเขตของมันอย่างแน่ชัด สิ่งที่สามารถคุยกันตอนนี้ได้คือการวินิจฉัยดังกล่าว ในทางการแพทย์ปัจจุบันอะไรเป็นตัวชี้วัดว่าคนคนหนึ่งอาจต้องได้รับการแปลงเพศหรือใช้ยาฮอร์โมน? บ่อยครั้งคือความทุกข์ทางใจ (Psychological Distress) ที่เรียกว่า ‘Gender Dysphoria’ ตำรา Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorder Fifth Edition (DSM-5) ได้นิยาม Gender Dysphoria ในผู้ใหญ่เอาไว้ว่ามันคือความไม่ลงรอยกันระหว่างอัตลักษณ์ทางเพศที่คนคนหนึ่งแสดงออกมา กับเพศที่พวกเขาได้ถูกกำหนดไว้ตอนเกิด โดยมีลักษณะอย่างน้อย 2 ข้อข้างล่าง เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ความไม่ลงรอยกันในอัตลักษณ์ทางเพศกับเพศลักษณ์ปฐมภูมิ (เช่น การมีอวัยวะเพศ หรือช่องคลอด) และ/หรือเพศลักษณ์ทุติยภูมิ (เช่น เต้านมที่ขยายขนาด หนวดเครา ฯลฯ)ความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะนำเพศลักษณ์ปฐมภูมิและ/หรือทุติยภูมิออกจากร่างกาย เนื่องจากความไม่ลงรอยกันระหว่างความต้องการและอัตลักษณ์ทางเพศความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะมีเพศลักษณ์ของเพศอื่นความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเปลี่ยนตัวเองเป็นเพศอื่นความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะถูกสังคมปฏิบัติด้วยแบบเพศอื่นความมั่นใจว่าตัวเองมีมีความรู้สึกเช่นเดียวกับเพศอื่น หลักเกณฑ์ข้างต้นเป็นการบอกลักษณะ แต่การดูแค่ลักษณะเหล่านั้นอาจจะยังไม่ทำให้เราเห็นภาพทั้งหมด เมื่อเรามองมันเป็นหลักเกณฑ์การวินิจฉัยทุกอย่างอาจดูง่ายและขาวสะอาด แต่เมื่อมีบริบทของการเป็นคนข้ามเพศและการใช้ชีวิตจริงๆ เข้ามาด้วยเราอาจเห็นชัดขึ้น ว่าทำไมการเข้ารักษาจึงจำเป็น อาการอื่นๆ ที่บ่อยครั้งมาคู่กันกับ Gender Dysphoria คือภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ตัดขาดขาดจากสังคม บางครั้งในกรณีหนักๆ มันอาจนำมาซึ่งพฤติกรรมที่ก่ออันตราย หรือความเสี่ยงให้แก่ตัวเองได้ ไม่ว่าจะจากการใช้ยาเสพติด การบริโภคแอลกอฮอล์จนติด การทำร้ายตัวเอง หรือแม้แต่ความคิดการอยากฆ่าตัวตาย ในงานวิจัย Prevalence of gender dysphoria and suicidality and self-harm in a national database of paediatric inpatients in the USA: a population-based, serial cross-sectional study ที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร The Lancet พบว่าจากกลุ่มตัวอย่างระดับชาติในสหรัฐอเมริกา กลุ่มคนข้ามเพศและนอนไบนารี่ผู้มีประวัติการได้รับวินิจฉัย Gender Dysphoria บ่อยครั้งเข้ารับรักษาที่โรงพยาบาลเนื่องจากพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง ที่น่าสนใจอีกอย่างคือจากสถิติคือผู้วิจัยยังพบว่ามีการรายงานเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่คนผิวขาว ใช้ประกันสาธารณะ และเป็นผู้อาศัยในครัวเรือนที่มีรายได้น้อยที่มีอาการ Gender Dysphoria ต่ำอย่างมีนัยยะสำคัญ ในหัวข้อการตีข้อมูล ความผู้วิจัยเชื่อว่าสถิติข้างต้นหมายความว่าความไม่เท่าเทียมก่อให้เกิดสถานการณ์ที่ทำให้มีผู้เข้าไม่ถึงการตรวจพบ Gender Dysphoria แต่แรกด้วยซ้ำ บวกกับว่านอกจากเรื่องภายในใจแล้ว การมีชีวิตในร่างกายของคนไม่ตรงเพศนั้นพบกับปัญหาที่แตกต่างไป ค่านิยมของสังคมและศาสนา ความรุนแรงในครอบครัว การกลั่นแกล้ง การเหมารวม ฯลฯ เมื่อเรามองเข้าจริงๆ แล้ว โลกภายในของเราและโลกภายนอกนั้นไม่อาจแยกกันได้ สิ่งที่เกิดขึ้นข้างนอกอาจทุบทำลายหรือเสริมสร้างสิ่งที่อยู่ข้างในได้ และเช่นกัน เราก็มักต้องการนำสิ่งที่อยู่ข้างใน นำเสนอออกไปสู่โลกภายนอกเช่นกันในปัจจุบัน แน่นอนว่าสิทธิคนข้ามเพศพัฒนาขึ้นจากเมื่อก่อนพอสมควร แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าทุกคนจะเข้าใจเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศของผู้อื่นได้ทั้งหมดแล้ว และในโลกที่มียังมีคนจำนวนมากไม่เข้าใจ รวมถึงไม่ยอมรับในตัวตนของคนข้ามเพศ คนข้ามเพศหลายๆ คนยังต้องการโล่กำบังจากพฤติกรรมที่ข้ามเส้นของโลกใบนั้น ทั้งตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เช่น การถูก Misgender หรือการถูกถากถางว่าเพศของตัวเองไม่มีจริง ฯลฯ ซึ่งการแสดงออกทางรูปลักษณ์ร่างกายเป็นหนึ่งในโล่กำบังระยะสั้น ระหว่างที่เราก็ต้องให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ และการเรียกร้องความเปลี่ยนแปลงทางนโยบายเพื่อเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาวไปพร้อมๆ กัน เมื่อรูปลักษณ์ของเราเป็นมากกว่าความงาม รูปลักษณ์จึงเป็นวิธีหนึ่งที่เราเผยตัวเองออกสู่โลกรอบตัว ถ้าการแต่งตัวของเราบอกรสนิยมของเรา หรือถ้าผิวของเราบอกบางอย่างเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ของเราได้ แล้วมันจะเกินจริงยังไง หากเราจะบอกว่าความต้องการให้ร่างกายของเราเป็นไปตามอัตลักษณ์ทางเพศของเรา จะทำให้เราลดความไม่ลงรอยภายในของเราได้? จะเหนือจริงตรงไหนถ้าใครบางคนอยากจะนำเสนอเพศของตัวเองผ่านรูปลักษณ์ของพวกเขา? สมมติว่ามีข่าวการขยับขยายการเดินทางระบบรางในประเทศไทย คนที่สามารถเดินทางด้วยรถ จะประท้วงการขยับขยายนั้นหรือเปล่า? หรือหากมีโครงการการสร้างทางด่วนใหม่ คนที่ไม่มีรถยนต์จะต้องมาเรียกร้องหรือไม่ ว่าเอาภาษีของพวกเขาไปสร้างได้ยังไง? การถามหา ‘ความเท่าเทียม’ จากสวัสดิการที่เราไม่ได้รับประโยชน์โดยตรงนั้นก็คล้ายๆ กับการจะไปประท้วงเรื่องข้างต้นด้วยเหตุผลว่า ก็เราไม่ได้ใช้ ความเท่าเทียมไปไม่ได้หมายความว่าได้อะไรเท่าๆ กันเสมอไป บริบทของการเป็นมนุษย์นั้นลึกและหลากหลายกว่านั้น บางครั้งโลกและค่านิยมของมันโหดร้ายกับคนหลายๆ กลุ่ม บางครั้งโลกก็บังคับให้คนหลายๆ กลุ่มเรียกร้องบางอย่างมากกว่าคนอื่น หรือบางครั้งโลกก็ให้น้ำหนักกับคนบางกลุ่มมากเกินไปจนทิ้งที่เหลือเอาไว้ข้างหลัง นานเสียจนการพยายามเปลี่ยนให้ทุกคนเข้ากันจริงๆ ดูเป็นสิ่งแปลกปลอม เราต่างคนต่างมีการต่อสู้ของเราเอง แต่อย่าลืมวางเลนส์ของตัวเองลงเมื่อมองปัญหาของผู้อื่น เพราะการที่เราไม่ได้เจอสิ่งที่เขาเจอ ก็ไม่ได้แปลว่าปัญหาเหล่านั้นไม่มีอยู่เลยhttps://thematter.co/social/gender-affirmation-welfare/218505#google_vignette

Tag:การผ่าตัดเปลี่ยนเพศจากหญิงเป็นชาย, การผ่าตัดเปลี่ยนเพศจากชายเป็นหญิง,

โพสต์โดย: GenDHL

18

0

เลขที่ 88 ถนนติวานนท์ 3 (แยก 16) ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

02 968 8019

02 968 9885

คุยกับ Gen AI