เลือกธีมสี

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ SANDBOX เด็กและวัยรุ่น คลองสาน

“ผลการบูรณาการความร่วมมือเพื่อทดสอบระบบและเครื่องมือส่งเสริมสุขภาวะทางเพศ และสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร” ภายใต้ ศูนย์รังสรรค์นวัตกรรมสุขภาวะทางเพศและสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ดำเนินการโดย บริษัทวิจัยและพัฒนานโยบาย (พี.อาร์.ดี) จำกัด สนับสนุน โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) วันที่ 14 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 – 13.30 น. ณ.ห้องประชุมปิง-วัง โรงแรมรามาดา พลาซา บาย วินด์แฮม แบงคอก แม่น้ำ ริเวอร์ไซด์ เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร

นิทรรศการสุขภาพคนข้ามเพศ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำความเข้าใจ วิถีชีวิต และ สุขภาพของชายข้ามเพศผ่านมุมมองนิทรรศการและการเสวนาของชุมชนคนข้ามเพศในกรุงเทพมหานคร ณ กินใจ KINJAI CONTEMPORARY วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 - 16.00 น.

คลินิก love care โรงพยาบาลตากสิน

👩‍⚕️มีบริการอะไรบ้าง?🩺 ✅คลินิกสุขภาพ LGBTQIA+ ✅ตรวจรักษาโรคทั่วไป ✅ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) ✅ปรึกษาสุขภาพจิต ✅ตรวจวัดระดับฮอร์โมน ✅บริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง Love Care Clinic โทร. 09 8539 9746

News

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ SANDBOX  เด็กและวัยรุ่น คลองสาน

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ SANDBOX เด็กและวัยรุ่น คลองสาน

“ผลการบูรณาการความร่วมมือเพื่อทดสอบระบบและเครื่องมือส่งเสริมสุขภาวะทางเพศ และสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร” ภายใต้ ศูนย์รังสรรค์นวัตกรรมสุขภาวะทางเพศและสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ดำเนินการโดย บริษัทวิจัยและพัฒนานโยบาย (พี.อาร์.ดี) จำกัด สนับสนุน โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) วันที่ 14 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 – 13.30 น. ณ.ห้องประชุมปิง-วัง โรงแรมรามาดา พลาซา บาย วินด์แฮม แบงคอก แม่น้ำ ริเวอร์ไซด์ เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร
นิทรรศการสุขภาพคนข้ามเพศ

นิทรรศการสุขภาพคนข้ามเพศ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำความเข้าใจ วิถีชีวิต และ สุขภาพของชายข้ามเพศผ่านมุมมองนิทรรศการและการเสวนาของชุมชนคนข้ามเพศในกรุงเทพมหานคร ณ กินใจ KINJAI CONTEMPORARY วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 - 16.00 น.
คลินิก love care โรงพยาบาลตากสิน

คลินิก love care โรงพยาบาลตากสิน

👩‍⚕️มีบริการอะไรบ้าง?🩺 ✅คลินิกสุขภาพ LGBTQIA+ ✅ตรวจรักษาโรคทั่วไป ✅ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) ✅ปรึกษาสุขภาพจิต ✅ตรวจวัดระดับฮอร์โมน ✅บริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง Love Care Clinic โทร. 09 8539 9746
เปิดแล้ว! 31 พิกัด Pride Clinic ทั่วกรุงเทพฯ

เปิดแล้ว! 31 พิกัด Pride Clinic ทั่วกรุงเทพฯ

กทม. มุ่งมั่นให้ทุกคนเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียม โดยไม่แบ่งแยกเพศ เพราะความหลากหลายคือความสวยงาม การเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียมคือสิทธิของทุกคน ผ่าน Pride Clinic 🏳️‍🌈 เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัย และส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียม คลินิกจึงให้บริการด้านสุขภาพสำหรับกลุ่ม LGBTQIA+ โดยเฉพาะ การริเริ่มครั้งนี้ เป็นการสร้างสวัสดิการของรัฐที่ครอบคลุมความหลากหลายของมนุษย์ และส่งเสริมให้ทุกคนเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ เพื่อสร้างสวัสดิการของรัฐที่ครอบคลุมความหลากหลายของมนุษย์
หลังบ้านทรานส์แมน

หลังบ้านทรานส์แมน

หลังบ้านทรานส์แมน โดย Queer Trans man https://drive.google.com/file/d/1cokUUyeysQg8MYn4O7VnMiJ435nZ3u8V/view?usp=sharing
Pride clinic ศบส.28

Pride clinic ศบส.28

👩‍⚕️มีบริการอะไรบ้าง?🩺 ✅คลินิกสุขภาพ LGBTQIA+ ✅ตรวจรักษาโรคทั่วไป ✅ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) ✅ปรึกษาสุขภาพจิต ✅ตรวจวัดระดับฮอร์โมน ✅บริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี ชั้น 3 โทร. 0 2860 8210 ต่อ 311
เรื่องเล่าทรานส์แมน โดย จิมมี่

เรื่องเล่าทรานส์แมน โดย จิมมี่

https://drive.google.com/file/d/1umB5qgBgoYNczGkQpAY5WvTXMiwUTtFA/view?usp=drive_link
คู่มือคนข้ามเพศฉบับเข้าใจง่าย

คู่มือคนข้ามเพศฉบับเข้าใจง่าย

รวมเรื่องสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงร่างกายที่คนข้ามเพศอยากรู้และบุคคลทั่วไปสนใจ โดย ผศ.ดร.สกล โสภิตอาชาศักดิ์ คณะวิทยาการเรียนรู้แลกศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถดาวน์โหลดฟรี ได้ที่ https://drive.google.com/file/d/19FQWwpXy2cNcFVUn70mvWQx2Ug5WENnx/view?usp=drive_link
Pride Month 2024

Pride Month 2024

สุขภาวะทางเพศ #4

สุขภาวะทางเพศ #4

ห้องย่อยที่ 22 GenDHL ชุมชนหลากหลายทางเพศออนไลน์สร้างเสริมสุขภาพ 16 สิงหาคม 2567 เวลา 10.30 - 12.00 น. ณ ห้อง Amber 2 ชั้น 5 โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ จ.นนทบุรี

บทความ/ความรู้

ความรู้ทั่วไปที่นำเสนอโดยผู้เชี่ยวชาญ

บูลลี่ในโรงเรียน หยุดได้ด้วยนักเรียน

Tag:การบูลลี่,

โพสต์โดย: GenDHL

47

0

เราต่างก็อยู่ในวงจรการบูลลี่โดยไม่รู้ตัว #หยุดทุกการบูลลี่

Tag:การบูลลี่,

โพสต์โดย: GenDHL

94

0

หรือเรากำลังถูก Cyberbullying? 5 วิธีแกล้งบนโลกออนไลน์

ว่ากันว่าความเจ็บปวดของมนุษย์ที่รุนแรงที่สุดคือ “ความละอายใจ” เพราะมันมีประสิทธิภาพในการลงโทษมากกว่าความรู้สึกอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความละอายใจบนโลกออนไลน์ เมื่อสังคมปัจจุบันย้ายจากโลกความเป็นจริงมาอยู่บนโลกออนไลน์ พฤติกรรมการกลั่นแกล้งที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่ปิด เริ่มขยายวงกว้างสู่สาธารณะชน การกลั่นแกล้งออนไลน์ หรือ Cyberbullying จึงเพิ่มอนุภาพการทำลายล้างจิตใจให้รุนแรงมากกว่าเดิมน่าเศร้าที่บางครั้งเราเองนั่นแหละเป็นคนแกล้งคนอื่นโดยไม่รู้ หรือบางทีเราก็ถูกแกล้งโดยไม่รู้ตัวเช่นกันในเมื่ออินเทอร์เน็ตเป็นโลกจำลองที่คุณเป็นใครก็ได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า คุณจะทำอะไรก็ได้ ลองมาสำรวจ 5 พฤติกรรมการกลั่นแกล้งออนไลน์ที่ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่หารู้ไม่ว่า เรื่องนี้แค่นี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงมากกว่านั้นหลายเท่า วิธีที่ 1 รุมด่าในคอมเมนต์อย่างสะใจเริ่มต้นสเต็ปพื้นฐานกับการเป็นเกรียนคีย์บอร์ดเลเวลสามัญชน พฤติกรรมง่ายๆ แต่จิ้มจอพิมพ์ด่ากราดด้วยถ้อยคำหยาบคายที่สุดเท่าที่จะนึกออก ทางที่ดีควรตอกย้ำปมหน้าตา น้ำหนัก ส่วนสูง หรือรสนิยม ทำยังไงก็ได้ให้เหยื่อเสียความมั่นใจมากที่สุด การกระทำแบบนี้ไม่ต่างอะไรกับการเทอราพีตัวเองด้วยความสนุกสนาน เอามัน และระบายความอัดอั้นตันใจด้วยการหาใครสักคนมาเป็นเหยื่อนั่นเองแอดวานซ์หน่อยอาจเพิ่มสกิลหมาหมู่ออนไลน์ ลากเพื่อนที่มีอุดมการณ์ร่วมกันมารุมด่าในคอนเมนต์ ถ้ายังมันไม่พอต้องสวมวิญญาณนักแคปฯ​ ในตำนาน แคปความตลกของเหยื่อมาโพสต์ประจานต่อ ถ้าเหยื่อนั้นลบโพสต์หรือปิดแอคเคาท์หนี เท่ากับว่า คุณทำสำเร็จแล้วอ่อ… อย่าลืมสร้างแอคเคาท์ตัวเองเป็นอวตารปลอมด้วยนะ เดี๋ยวโป๊ะแตกถูกจับได้ว่าเป็นใคร แล้วสนุกจะลดลงครึ่งหนึ่ง วิธีที่ 2 #รับงานนะคะ เอาภาพมาตัดต่อเพื่อความเร้าใจเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีโปรแกรมรีทัชพัฒนาไปไหนต่อไหนแล้ว ขนาดงานอีเวนท์คนน้อยๆ ยังสามารถรีทัชเพิ่มคนให้ดูเยอะๆ ได้เลย นับประสาอะไรกับแค่เซฟภาพใครสักคนมาตัดต่อกับรูปโป๊ เปลี่ยนหน้าตา แล้วใส่ข้อความ #รับงานนะคะ ก่อนส่งให้เพื่อนๆ ดู สร้างความขบขันในหมู่คณะแต่ถ้าอยากสนุกขึ้นไปอีกขั้น ก็แค่ขยับสเกลจากความสนุกของผองเพื่อนมาเป็นเรื่องนี้โลกต้องรู้ โยนภาพพร้อมเบอร์โทรศัพท์ติดต่อเข้ากลุ่มสวิงกิ้งตามกลุ่มไลน์ต่างๆ เพื่อให้สาธารณชนติดต่อไปใช้บริการ ปิดท้ายเพิ่มความน่าเชื่อถือด้วยการ #ส่งการบ้าน รีวิวการใช้บริการว่าเนียนแน่นขนาดไหนเพียงเท่านี้เหยื่อของเราจะเจ็บแสบสันไปถึงทรวง ทะลวงไปถึงขั้วหัวใจ ขณะที่เรารู้สึกสนุกสุดยอดไปเลย วิธีที่ 3 “ออกไปจากกลุ่มนี้ซะ!” There are no shared moments, yet.สเต็ปต่อมาที่สร้างความเจ็บระดับหัวร้อน คือการบอกว่า “น่ารำคาญ” แล้วเตะออกจากกลุ่มไลน์ไปเลย ข้อดีอย่างหนึ่งคือการประกาศตัวชัดเจนว่า “แกไม่ใช่พวกฉัน” พร้อมตั้งมายเซ็ตว่าอย่าสะเออะเข้ามาอีกละ พอเข้ามาก็เตะ เอะอะๆ ก็เตะ เอะอะๆ ก็เตะ แล้วนางจะรู้สึกว่า “เอ้อ! ไม่อยู่ในกลุ่มแล้วก็ได้เว้ย”ลองคิดดูว่ามนุษย์ (ที่เป็นสังคม) โดนไล่ไสหัวออกจากกลุ่มแล้วจะรู้สึกอย่างไร คงจะคล้ายหมาหัวเน่าที่ไม่มีใครรัก จิตใจห่อเหี่ยว และค่อยๆ เฉาตายตามกาลเวลา ซึ่งถามว่านักบูลลี่อย่างเราสนใจไหม? ตอบด้วยการมองเชิด ชูนิ้วชี้วาดเป็นตัว S พร้อมสะบัดหัวว่า “ฉันไม่แคร์” วิธีที่ 4 เฮ้ย! เพื่อนลืมล็อคเอาท์ โพสต์อะไรสนุกๆ กันดีกว่าวิธีนี้จะเกิดขึ้นได้ต้อง “ถูกที่ถูกเวลา” ไม่ต่างอะไรกับพรหมลิขิตที่ขีดเขียนให้เราเดิน เพราะมันต้องเป็นโมเมนต์ที่เหยื่อลุกไปทำเข้าห้องน้ำ พร้อมๆ กับการลืมล็อกเอาท์โซเชียลมีเดีย ทีนี้แหละก็เหมือนนรกเปิดทางให้เรา ที่เหลือก็ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการตั้งโพสต์ให้พิสดารที่สุดเท่าที่จะทำได้ความสำเร็จของวิธีนี้ คือโพสต์ของเรามีคนกดไลก์มากกว่าโพสต์ปกติของเหยื่ออีก เพียงเท่านี้ความภาคภูมิใจก็ล้นทะลักจนยิ้มแก้มปริไปสองสามวัน วิธีที่ 5 ก็อปนู้น ก็อปนี่ ฉันจะยึดร่างเธอตามตำนานด็อปเปิลแกงเกอร์ (Doppelganger) หรือแฝดปีศาจ มีไอเดียว่า เราต่างเป็นศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดของตัวเอง ไอเดียนี้จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้กำกับ จอร์แดน พีล สร้างหนังเรื่อง US ออกมา โดยตัวร้ายจะมีใบหน้าเหมือนตัวเอกทั้งหมดนั่นเองและนี่ก็เป็นแรงบันดาลใจชั้นเยี่ยมให้เราจะลองสวมบทบาทเป็นด็อปเปิลแกงเกอร์ของเหยื่อบ้าง ซึ่งไม่ใช่การสวมบทบาทในโลกแห่งความจริงนะ แต่เป็นโลกออนไลน์แทน โดยการสร้างโซเชียลมีเดียแอคเคาท์ใหม่ ก็อปทั้งรูป ทั้งโปรไฟล์ กระทั่งถึงโพสต์ไลฟ์สไตล์ปกติที่เหยื่อทำกันก่อนจะอีโวลูชันสร้างโลกคู่ขนาน เอาแอคเคาท์โคลนนิ่งนี้ไปกระทำการอันร้ายกาจต่างๆ นานา เพราะผลกระทบทั้งหมดจะตกไปที่เหยื่อให้เป็นผู้รับกรรมแทน ส่วนเรานั้นก็เสพสุขต่อไป #เรื่องแค่นี้เอง ที่ผลลัพธ์ไม่แค่นั้นจะว่าไปแล้วความกลั่นแกล้งแบบนี้เป็นความรุนแรงรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นพร้อมเทคโนโลยี โดยผู้กระทำสามารถเป็นใครก็ได้โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตน โลกออนไลน์จึงถูกนำมาใช้เป็นช่องทางในการใส่ร้าย โจมตี และกลั่นแกล้งผู้อื่น น่าเศร้าที่ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบปัญหานี้โดยตรงประกอบกับความเข้าใจผิดระหว่างการหยอกล้อ (tease) ที่เกิดจากความสนิทสนมโดยไม่มีเจตนาร้าย กับการกลั่นแกล้ง (bully) ที่สร้างปัญหา ทำให้ปัจจุบันความรุนแรงประเภทนี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆเห็นได้จากรายงานผลโครงการวิจัยการแกล้งกันของเด็กนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อกันยายน 2561 ที่ระบุว่า มีนักเรียนจำนวนมากถึงร้อยละ 91 ที่เคยถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียน และมีจำนวนร้อยละเกือบ 30 ที่เคยถูกกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ ทั้งนี้ผู้กระทำการแกล้งส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ขณะที่ผู้ถูกกระทำส่วนใหญ่เป็น LGBT นับเป็นปัญหาที่เราควรจะหันหน้าใส่ใจกันอย่างจริงเสียทีการกระทำทั้ง 5 ที่กล่าวมา ดูเผินๆ อาจเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยที่ใครๆ ก็ทำกัน ทว่าความจริงแล้ว ผลลัพธ์ของเรื่องแค่นี้กลับมีความรุนแรงมากกว่านั้น โดยเฉพาะการทำให้เหยื่อมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมต่ำลง วิตกกังวล ซึมเศร้า มองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง เครียด แปลกแยก ไม่อยากไปโรงเรียน หรือแม้กระทั่งอยากฆ่าตัวตายเราหวังว่าทุกคนจะฉุกคิดก่อนจะกระทำการใดๆ ที่เข้าข่ายคัมภีร์หนังสุนัขเล่มนี้ เพราะบางที… เราก็อาจกำลังกลั่นแกล้งโดยไม่รู้ตัว

Tag:การบูลลี่,

โพสต์โดย: GenDHL

35

0

เครือข่ายพันธมิตร

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

หน่วยความเป็นเลิศด้านเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี

GenV Clinic คลินิกเพศหลากหลาย โรงพยาบาลรามาธิบดี

RSU Gender Health Clinic

สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย

มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING THAILAND)

มูลนิธิเครือข่ายเพื่อกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน (ThaiTGA)

คลินิกสุขภาพเพศ รพ.จุฬาลงกรณ์

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต

คลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย โรงพยาบาลตากสิน

สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด สำนักอนามัย

กลุ่มงานสุขภาพจิต กองสร้างเสริมสุขภาพ สำนักอนามัย

ศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี

สำนักงานโรคติดต่อทางสาธารณสุข สำนักอนามัย

โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม

สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

แพลตฟอร์มเติมเต็ม

โปรแกรมก๊วนทีน

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย (สวน.)

บริษัทวิจัยและพัฒนานโยบาย (พี.อาร์.ดี) จำกัด

หน่วยบริการพันธมิตร

SWING

โรงพยาบาลกลาง หน่วยบริการผู้ป่วยนอกสูตินรีเวชกรรม

โรงพยาบาลตากสิน Love Care Clinic

คลินิกสุขภาพเพศ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ KCMH Gender Health Clinic

คลินิกสุขภาพเพศ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ Gender Health Clinic, Thammasat Memorial Hospital

โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

คลินิกสุขภาพชุมชนแทนเจอรีน

คลินิกตะวันใหม่

สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย

โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ คลินิกประกันสังคม

ศูนย์สุขภาพชาย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ศูนย์บริการสาธารณสุข 40

โรงพยาบาลสิรินธร คลินิกพิเศษอายุรกรรมชั้น2

โรงพยาบาลวชิรพยาบาล

โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์

ศูนย์สุขภาพเพศ โรงพญาบาลพญาไท นวมินทร์

ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ

โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทมหานคร

โรงพยาบาลคลองสามวา

โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ เขตหนองแขม

โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน คลินิกเฉพาะทาง 1 ชั้น 2 อาคาร 1

ศูนย์บริการสาธารณสุข 3

ศูนย์บริการสาธารณสุข 28

ศูนย์บริการสาธารณสุข 4

ศูนย์บริการสาธารณสุข 9

GENDER DIVERSITY HEALTH LITERACY

เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในความหลากหลายทางเพศ

เลขที่ 88 ถนนติวานนท์ 3 (แยก 16) ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

02 968 8019

02 968 9885

คุยกับ Gen AI