ห้องย่อย "อัตลักษณ์เชิงซ้อนกับความเหลื่อมล้ำในระบบบริการ" การประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2

กิจกรรม - ห้องย่อย "อัตลักษณ์เชิงซ้อนกับความเหลื่อมล้ำในระบบบริการ" การประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2

สถานที่ - อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี 

วันที่จัด - 22/02/2566

เวลา - 13:00 - 17:00 น.

รายละเอียด

การแลกเปลี่ยนที่สะท้อนให้เห็นความสำคัญชองการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาวะกับกลุ่มคนที่ "ถูกละเลยหลงลืมในสังคม" หรือ “ประชากรกลุ่มเฉพาะ” ที่มีความเปราะบาง (Vulnerability) มีความเสี่ยง (Risk) หรือความต้องการ ในรูปแบบ / กระบวนพิเศษ หรือเฉพาะ เพื่อให้สามารถเข้าถึงการสร้างเสริมสุขภาพ สุขภาวะ ปัจจัยส่งผ่านสังคมกำหนดสุขภาพ (Intermediary Determinants) ที่ทำให้สูญเสียสุขภาวะ เข้าไม่ถึงระบบบริการ ซึ่งประกอบด้วยหลากหลายกลุ่ม โดยในห้องย่อย "อัตลักษณ์เชิงซ้อนกับความเหลื่อมล้ำในระบบบริการ" นำเสนอประเด็นสถานการณ์ รูปแบบการทำงาน และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของกลุ่มประชากรหลากหลายทางเพศที่เชิงซ้อนกับปัญหาจากการประกอบอาชีพ เป็นพนักงานบริการ แรงงานข้ามชาติ และกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่เป็นกลุ่มคนหูหนวกและหูตึง ที่เข้าไม่ถึงสิทธิและโอกาสอย่างเพียงพอและเหมาะสม ห้องย่อยนี้จึงมุ่งหวังให้เสียงสะท้อนจากภาษามือ เสียงจากต่างภาษา และเสียงที่ต้องเปิดใจถึงจะได้ยิน ถูกนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพประเด็นข้อเสนอการขับเคลื่อนต่อเนื่องกับภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง 

สรุปกิจกรรม

ห้องย่อยที่เป็นการสะท้อนให้เห็นความสำคัญชองการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาวะกับกลุ่มคนที่ "ถูกละเลยหลงลืมในสังคม" หรือ “ประชากรกลุ่มเฉพาะ” ที่มีความเปราะบาง (Vulnerability) มีความเสี่ยง (Risk) หรือความต้องการ ในรูปแบบ / กระบวนพิเศษ หรือเฉพาะ เพื่อให้สามารถเข้าถึงการสร้างเสริมสุขภาพ สุขภาวะ ปัจจัยส่งผ่านสังคมกำหนดสุขภาพ (Intermediary Determinants) ที่ทำให้สูญเสียสุขภาวะ เข้าไม่ถึงระบบบริการ ซึ่งประกอบด้วยหลากหลายกลุ่ม โดยในห้องย่อย "อัตลักษณ์เชิงซ้อนกับความเหลื่อมล้ำในระบบบริการ" นำเสนอประเด็นสถานการณ์ รูปแบบการทำงาน และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของกลุ่มประชากรหลากหลายทางเพศที่เชิงซ้อนกับปัญหาจากการประกอบอาชีพ เป็นพนักงานบริการ แรงงานข้ามชาติ และกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่เป็นกลุ่มคนหูหนวกและหูตึง ที่เข้าไม่ถึงสิทธิและโอกาสอย่างเพียงพอและเหมาะสม ห้องย่อยนี้จึงมุ่งหวังให้เสียงสะท้อนจากภาษามือ เสียงจากต่างภาษา และเสียงที่ต้องเปิดใจถึงจะได้ยิน ถูกนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพประเด็นข้อเสนอการขับเคลื่อนต่อเนื่องกับภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้จากผลการแลกเปลี่ยนของวิทยากรทุกท่านและผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเสวนาห้องย่อยสามารถสรุปเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังนี้

  1. การกำหนดเป้าหมายและกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อนำไปสู่การเข้าถึงอย่างเท่าเทียม และการจัดบริการที่เป็นสำหรับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม
  2. พัฒนาเครือข่ายและจัดความร่วมมือเป็นภาคีข่ายงานกับทุกภาคส่วน (Multi sectoral) ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาสังคม และชุมชน และจัดรูปแบบการดำเนินงานและการให้บริการต่างระดับ (Multi-level) เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบและนำไปสู่ความยั่งยืน
  3. การสร้างขุมพลังจากทุกเสียงให้ทุกคนได้ยินปัญหาและข้อเรียกร้องอย่างเข้าใจ และก้าวออกมาร่วมกันไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
  4. การสร้างพื้นที่แห่งโอกาสและการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง และเอื้อต่อการค้นหาและการเข้าถึงอย่างเป็นมิตร
  5. การกำหนดให้กลุ่มเป้าหมายร่วมออกแบบบริการให้สอดคล้องกับวิถีการดำรงชีวิตในชุมชนที่นำไปสู่สุขภาวะ
  6. การสกัดข้อมูล (Data) สู่ข่าวสาร (Information) จนกลายเป็นองค์ความรู้สำคัญ (Knowledge) สำหรับองค์กร หน่วยงาน และประชาชนในการขับเคลื่อนร่วมกัน

ภาพประกอบ

image-1image-2image-3image-4image-5
กลับ

เลขที่ 88 ถนนติวานนท์ 3 (แยก 16) ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

02 968 8019

02 968 9885

คุยกับ Gen AI